artical

อนาคตกลุ่มชาติพันธุ์ในกำมือของคนรุ่นใหม่

ชาติพันธุ์เฟส เป็นกิจกรรมสุดท้ายหรือกิจกรรมปิดโครงการของทุก ๆ ปีที่ และทุก ๆ โครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ผ่านไปยังโครงการทุนพัฒนาอาชีพที่ใช้นวัตกรรมและชุมชนเป็นฐานต้องดำเนินการ

สำหรับหน่วย “เหนือตะวัน” เป็นหน่วยจัดการเรียนรู้ที่รับผิดชอบโครงการที่สนับสนุนให้แก่กลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์หรือกลุ่มชนเผ่า ไม่ว่าจะเป็น กะเหรี่ยง ม้ง ลาหู่ ลีซอ กลุ่มไทยใหญ่ และกลุ่มกะเหรี่ยงโปว์ที่อยู่ไกลถึงบ้านไล่โว่ อำเภอสังขละ จังหวัดกาญจนบุรี ก็มาร่วมในกิจกรรมครั้งนี้

สำหรับเป้าหมายโครงการที่กลุ่มชาวบ้าน หรือ ที่เรียกกันว่า “ผู้ร่วมเรียนรู้” ดำเนินงาน เน้นเรื่องการพัฒนาอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กล่าวคือ ใช้ฐานของแต่ละชุมชนเช่น คน ความรู้ ฐานทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า ด้วยการผสมผสานจากองค์ความรู้นอกชุมชนเข้าไปพัฒนาและยกระดับขึ้นมาเพื่อนำไปสู่การสร้างอาชีพ และสร้างรายได้ 

โดยกิจกรรมการปิดโครงการในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการถอดบทเรียน ทบทวนการทำงานที่ผ่านมา ยังมีกิจกรรมบรรยายจากนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ คือ ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์การต่อสู่ของคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ ร่วมทั้งให้ข้อเสนอแนะสำหรับการก้าวเดินไปในอนาคตของพี่น้องชาติพันธุ์

ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

“เราอยากจะเห็นว่าการเดินทางของพี่น้องชาติพันธุ์จะไปยังไงต่อหลังจากนี้” อ.อรรรถจักร์เปิดประเด็น ก่อนเล่าประวัติศาสตร์การต่อสู้ของคนรุ่นพ่อรุ่นแม่เมื่อ 30 ที่แล้ว เพราะส่วนใหญ่ในที่นั่งอยู่ตรงนี้เป็นคนรุ่นใหม่ อาจจะยังไม่รู้ประวัติศาสตร์ของตนเองมากนัก  ขณะเดียวกันแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งล้อม และถ้าเปลี่ยนแปลงแลวมันจะเกิดผลกระทบอไรกับพี่น้องบ้าง

ทบทวนวันวาน

ในฐานะศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ และเคยเคลื่อนไหวต่อสู่เพื่อกลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือโดยเฉพาะในประเด็นเรื่องสิทธิ และที่ดินทำกิน บอกว่า นับจาก ปี 2540 จนถึงวันนี้  “ถือว่าพวกเราได้เดินมาไกลมาก” 

“สำหรับ “วันวาน” ของกลุ่มชาติพันธุ์เต็มไปด้วยความทุกข์ยาก แร้นแค้น และการกดขี่ มีการออกกฏหมาย มีการกำหนดกติกาเพื่อแย่งชิงฐานทรัพยากร โดยเฉพาะคำเรียกขาน “ชาวเขา”  ซึ่งเป็นการลดทอนศักดิ์ศรีคสามเป็นอย่างมาก  

นอกนากนั้น อ.อรรถจักรยังพาทุกคนกลับไปทบทวนการต่อสู้ตั้งแต่อดีตในรอบกว่า 30 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเรื่องของการต่อสู้ในเรื่องสิทธิ์ในที่ดินทำกิน ต่อสู้เพื่อให้ได้บัตรประชาชน มีการถูกไล่ตี  หลายคนถูกตจับ และออกมาร่วมเรียกร้องกันต่อ เป็นแบบนี้เรื่อยไป จนกระทั้งประสบความสำเร็จ 

“จากวันนั้น ถึงวันนี้ ยอมรับว่าพวกเราเดินมาไกลมาก การต่อสู้ทำให้เรามีบัตรประชาชน มีสิทธิในที่ดินทำกิน แม้ว่าจะเดินมาไกล ผ่านความยากลำบากกว่า 30 ปี แต่ยังไม่พอ พวกเราต้องเดินต่อ เพราะมันมีความเปลี่ยนแปลงที่วางรากฐานทุนนิยมไว้อย่างเหนียวแน่นโดยเฉพาะในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาคือการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง 30-40 ปีก่อนพวกเราไม่เข้าใจคำว่าตลาด  เราผลิตเพื่อบริโภคกันเองภายในชุมชน เช่นปลูกข้าว ปลูกผัก หาพืชอาหารในป่า ต่อมาก็มีการสนับุสนุนปลูกพืชเศรษฐกิจ เป็นการปูพื้นฐานระบบตลาด ตอนนั้นชีวิตเราเป็นอีกแบบหนึ่ง สิ่งที่เห็นชัดที่สุดคือการขยายตัวของพืชอย่างกาแฟ คนในชุมชนออกไปทำงานนอกชุมชนมากขึ้น รายได้หลักมาจากรายได้นอกภาคการเกษตร ระบบการพึ่งพิงคนเองลดลง ยกเว้นเรื่องผ้าที่บางกลุ่มยังทอใส่เอง 

            “คงไม่มีใครจินตนาการได้ว่าพี่น้องลีซูจะสามารถปลูกโกโก้ ผลิตชอคโกแลต มีแบรนด์ของตัวเอง พี่น้องกะเหรี่ยงปลูกกาแฟ ทั้งคั่วเอง ขายเอง พี่น้องบางกลุ่มอยางอาขาเปิดร้านกาแฟใหญ่โต เป็นต้น  

            ทั้งหมดล้วนมาจากจินตนาการทางการเมืองเป็นฐานให้พวกเรา เพราะมีการเปลี่ยนแปลงคำเรียกขานว่า “ชาวเขา” ซึ่งเป็นคำที่มีการกีดกันกันในทุก ๆ รูปแบบ  สิ่งที่รุ่นพ่อ รุ่นแม่เราทำมาทั้งหมดคือการสลายการกีดกันเราออก เปิดทางให้เราเข้ามาเป็นคนไทย ขณะเดี่ยวกันความเปลี่ยนแปลงทางกาเมือง รัฐเองก็ได้เปิดช่องให้พวกเราได้เข้าถึงความเป็นธรรมมากขึ้น เด็กรุ่นใหม่ได้รับารศึกษาในระดับปริญญาตรีสูงมากข้นเ เช่นมหาวิทยากีฬา ซึ่ง 80-90 เปอเซนต์เป็นพี่น้องเครือข่ายของพวกเรา  

การเข้าไปของระบบทุนภายใต้กลไกล “ตลาด” 

            อย่างไรก็ตาม แม้การเปลี่ยนแปลงหลังการลุกขึ้นมาเรียกร้องจะพัฒนาไปในทิศทางทีดี  แต่อ.อรรถจักร์ชี้ให้เห็นอีกประเด็นว่า การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ ทำให้เเกิดการขยายตัวของทุน  โดยมีรัฐเป็นตัวกลางในการเชื่อมสัมพันธุ์ระหว่างพีน้องชาติพันธุ์กับกลุ่มทุนด้วยการเข้าไปสนับสนุนงานด้านอาชีพ โดยเฉพาะการปลูกพืชเชิงเดียว  

            “ประเด็นที่น่าสนใจคือระบบเศรษฐกิจได้พาเราไปสู่การเป็น “ผู้ประกอบการ”  entrepreneur กันมามากขึ้น เราเริ่มเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในสังคมผู้ประกอบการ ซึ่งมองเห็นแต่ผลประโยชน์ มองไม่เห็นความเป็นเพื่อนมนุษย์ มีผลกระทบที่เรียกว่า “การแตกตัวทางชนชั้น” เมื่อก่อนเราพบว่าเรามีความเสมอภาคกันสูง พอเราเป็นสังคมผผู้ประกอบการมันก็พบว่ามันเรื่อของชนชั้นเข้ามาเกี่ยวข้อง พูดง่าย ๆ คือเราเริ่มมีชนชั้น รวย จน มีคนชั้นเป็นนายจ้าง ลูกจ้าง มีคนรวย คนจน ชั้นกลาง และการแตกตัวทางชนชั้นกำลังเป็นปัญหาใหญ่ เพราะถ้าเราจะทำเพื่อชุมชน เราต้องเอาเรื่องความเสมอภาค ความเท่าเทียมเติมลงไปในความเป็นผุ้ประกอบการ และระบบเศรษฐกิจของเรา 

            “ซึ่งความน่าสนใจก็คือ โครงการที่เรากำลงดำเนินงานอยู่ในขณะนี้ เป็นการเติมเรื่องความเสมอภาคเข้าไป เป็นการทำให้ในฐานะทางเศรษฐกิจสัมพันธุ์กับความสัมพันธุ์ฐานะทางสังคม  และสิ่งที่ผมสนใจมากก็คือ จากการทำงานในครั้งนี้พบว่า  สิ่งที่มันค่อย ๆ หายไป และกำลังลดลงเรื่อย ๆ  ค่อย ๆ กลับคืนมา นั่นคือ สิ่งที่เรียกว่าก community empathy  หรือความเห็นอกเห็นใจกัน  ค่อย ๆ กลับคืนมา”  

            ศ.ดร.อรรถจักรเปรียบเที่ยบว่า ในอดีต ตัววัฒนธรรมของชนเผาเป็นสิ่งกำกับการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นผี  เจ้าป่า เจ้าเขา หรือจะเป็นอะไรก็ตามมากำกับ หรือ กำหนดแบบแผนการดำเนินชีวิต แต่เมื่อระบบตลาดและระบบเศรษฐกิจเคลื่อนตัวเข้าไปในชุมชน  ก็เห็นความเป็นปัจเจกมากขึ้น 

            ความน่ากังวลของอาจารย์นักประวัติศาสตร์ที่เคลื่อนไหวเพื่อพี่น้องชนเผ่ามาครึ่งชีวิตยังไม่หมดแค่นั้น  

            “สิ่งที่น่ากลัวก็คือ private property  มันกำลังขยายตัวเข้าใน common propertyกล่าวคือ พื้นที่ส่วนรวมกำลังจะมีเจ้าของ อีกหน่อยกะเหรี่ยงจะทำไร่หมุนเวียนไม่ได้แล้ว เพราะจะเอาไปปลูกพืชเชิงเดียวโดยมีรัฐเป็นผู้ดำเนินงาน  และสิ่งที่จะกระทบมากที่สุดคือ สมบัติของชุมชน ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเรื่องของที่ดิน แต่มันมีเรื่องของวัฒนธรรมด้วย  

การพัฒนาอาชีพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ทางออกจากระบบตลาด

            “ผมดีใจที่ได้ยินได้ฟัง และได้มาเห็นในวันนี้ก็คือพวกเรากำลังกลับไปยังจุดที่คิดว่าจะกลับไปไม่ได้แล้วนั่นคือการสร้าง  community Emparthy  กลับคืนมา”  อ.ดร.อรรรถจักร์ชี้ว่า  ที่ผ่านมาพี่น้องชาติพันธุ์มี community Emparthy อยู่ในแล้ววิถีชีวิต  แต่ถูกทำลายด้วยกฏกติกาทางสังคม หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ตอนนี้พี่น้องชาติพันธุ์กำลังสร้างมันขึ้นมาใหม่ ผ่านโครงการที่กำลังดำเนินงาน  เนื่องจากตัวโครงการระบุเงือนไขชัดเจนว่า “ต้องเป็นปัญหาของชุมชน”  

            “ตัวโครงการไม้ได้บอกให้เราคิดแค่เราคนเดียว เราต้องคิดถึงคนด้อยโอกาสคนอื่น ๆ ในชุมชน เพราะโครงการบอกว่าต้องเห็นปัญหาของชุมชน เป็นปัญหาร่วมกันของชุมชน  ไม่ใช่เห็นปัญหาของปัจเจก และพวกเราก็พูดถึงพื้นที่กลาง หรือพื้นที่ทางสังคมที่ทุกคนจะเข้ามาเรียนรู้ และแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อที่จะทำให้ชุมชนมันดีขึ้น นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่าสำคัญที่สุดที่พวกเราจะร่วมกันสร้างมันขึ้นมาโดยเริ่มจากสำนึกสิ่งแวดล้อมที่อยู่บนกรรมสิทธิ์ชุมชน  ผมมองว่าสิ่งที่เรากำลังทำคือการขวางกระแส โดยเฉพาะ สิ่งที่เรียกว่า ขวางสิ่งที่เรียกว่ากลไกลตลาด ซึ่งเป็นส่วนของหนึ่งของระบบเศรษฐกิจภาพใหญ่ที่กำลังรุกเข้าไปชุมชนชน โดยเฉพาะการเข้าไปร่วมใช้ทรัพยากรในฐานะผู้ประกอบการร่วม”  

            ศ.ดร.อรรถจักร ชี้ว่า การขยายตัวของทุนจากภายนอกมีรูปแบบที่หลากหลาย และกินพื้นที่มากขึ้น สิงที่ทุนมองเห็นคือ “ฐานทรัพยากร” ซึ่งเป็นอาหารอันโอชะของพวกเขา  “และสิ่งที่ง่ายที่สุดที่พวกเข้าไปเชื่อมพวกเราเข้ากับกลไกตลาดของพวกเขา เช่น เป็นฐานการผลิต ซึ่งทุกวันนี้หลายพื้นที่เป็นอยู่ เช่นการเป็นแหล่งปลูกข้าวโพด ปลูกมันสำปะหลัง สตรอเบอรี่” 

            เพราะฉะนั้น การดำเนินงานภายใต้โครงการที่เรากำลังดำเนินงานอยู่นอกจากจะทำให้ common property แข็งแรงขึ้น เพราะเป็นทรัพยากรร่วมที่สำคัญ เกิด community Emparthy  หรือความเอื้อเฟื้อเผื่อคิดถึงคนอื่น และประเด็นสำคัญที่ ศ.ดร.อรรถจักร เสนอไว้ในตอนท้ายคือ “การพัฒนาตลาดภายใน” ด้วยการทำให้ตลาดภายในมีมูลค่าซื้อขายเพิ่มขึ้นด้วยการผลิต และ ซื้อขายกันภายใน 

             “วันนี้เราเดินมาไกล เดินมาอย่างภาคภูมิ  แต่ต้องระวัง โดยเฉพาะเรื่องของการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การรุกเข้าไปของกลไกตลาด เพราะถ้าไม่ระวังชาติพันธุ์ของเราก็จะกลายเป็นกลุ่ม ๆ หนึ่งที่ถูกเอามาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เหมือนชนกลุ่มน้อยในญี่ปุ่นเล็ก ๆ แห่งหนึ่งซึงสภาพเป็นเพียงแค่ร้านขายของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว  และผมก็หวังว่า มันจะไม่เกิดเรื่องแบบนั้นขึ้นแน่นอน หากชุมชนยังได้รับการสนับสนุนให้ทำงานกันอย่างต่อเนื่อง”