ชาติพันธุ์เฟส : เป็นกิจกรรมสุดท้ายหรือกิจกรรมปิดโครงการของทุก ๆ ปีที่ และทุก ๆ โครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ผ่านไปยังโครงการทุนพัฒนาอาชีพที่ใช้นวัตกรรมและชุมชนเป็นฐานต้องดำเนินการ สำหรับหน่วย “เหนือตะวัน” เป็นหน่วยจัดการเรียนรู้ที่รับผิดชอบโครงการที่สนับสนุนให้แก่กลุ่มพี่น้องชาติพันธุ์หรือกลุ่มชนเผ่า ไม่ว่าจะเป็น กะเหรี่ยง ม้ง ลาหู่ ลีซอ กลุ่มไทยใหญ่ และกลุ่มกะเหรี่ยงโปว์ที่อยู่ไกลถึงบ้านไล่โว่ อำเภอสังขละ จังหวัดกาญจนบุรี
Read More“วิกฤติ” กลับมาอีกครั้ง แต่รอบนี้ไม่ใช่วิกฤติเศรษฐกิจดังเช่นปี 2540 หากเป็นวิกฤติที่เรียกว่า Disruptive ที่ใครปรับตัวได้ก่อนย่อมอยู่รอดในโลกยุคใหม่ แต่อย่างไรก็ตาม ความพยายามในการปรับตัวภายใต้วิกฤติก็ถูกเร่งให้เร็วขึ้นด้วยเกิดโรคระบาดอย่าง Covid – 19 ที่ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจชะลอตัว เกิดการเลิกจ้างงานโดยเฉพาะแรงงานในกลุ่มบริการ เช่นเรื่องการท่องเที่ยว ซึ่งมีการคาดการว่า ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี สถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ
Read Moreสมคิด แก้วทิพย์ —— ในทุก ๆ ภาวะวิกฤติ ใครปรับตัวได้ก่อนย่อมอยู่รอด แต่คนที่อยู่รอดจากการปรับตัวได้ในทุก ๆ วิกฤติมักเป็นกลุ่มคนอยู่ตรงกลาง ไล่ขึ้นไปจนถึงชั้นบนสุดของสังคม นั่นเป็นเพราะ กลุ่มคนเหล่านั้นมี “โอกาส” เข้าถึงหลาย ๆ ปัจจัยในการปรับตัว ทั้งเงินทุน ความรู้ ตลอดจนกติกาและเงื่อนไขหลากหลายที่มักเอื้อให้กับกลุ่มคนเหล่านี้
Read More++++ เชียงรายเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยค่อนข้างมาก และอาชีพของคนส่วนใหญ่คือ การทำไร่ และการเกษตรอื่น ๆ เมื่อการค้าขายดี เศรษฐกิจดี ผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่ส่งเข้ามาขายในเมือง ในกรุงเทพ บางส่วนส่งไปขายเพื่อนบ้าน อย่างพม่า และ ลาว ชาวบ้านก็มีความเป็นอยู่ที่ดี กระทั่งเปิด “เขตการค้าเสรี” ผลผลิตทางการเกษตรทะลักเข้ามาทางท่าเรือเชียงแสน
Read Moreพลันที่ฝนแรกหล่นลงสู่พื้นดินไม่เฉพาะต้นไม้ใบหญ้าที่จะกลับมาชุ่มชื้น ชาวบ้านผาหมอนเองก็ยินดีปรีดา หนุ่มปกาเกอะญอหลายคนจะผละจากแปลงผักและแปลงดอกไม้ หญิงสาววางมือจากกี่ทอผ้า ต่างมุ่งหน้าสู่แปลงนา เพื่อเตรียมพร้อมฤดูทำนาที่หมุนเวียนมาอีกปี ‘หมุนเวียน’ ที่ไม่ใช่ ‘เลื่อนลอย’ นิยามนี้ใช้เวลานานหลายทศวรรษกว่าจะทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่ามันมีความหมายที่แตกต่างกัน หมุนเวียน คือ จะกลับมาใหม่เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ขณะที่ เลื่อนลอย คือการปฏิบัติบางอย่างแบบไร้จุดหมาย นาขั้นบันไดที่ชาวบ้านเพียรพยายามดูแล และกลับมาใช้ใหม่ในทุก ๆ
Read Moreจาก “ความรู้” สู่หมู่บ้านท่องเที่ยว บ้านแม่กำปองตั้งอยู่บนภูเขาสูง ผืนป่ารอบหมู่บ้านป่าเขตร้อน มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อันได้แก่ น้ำตก แม่กำปอง น้ำตกธารทอง ตลอดจนสวนเมี่ยงที่ปลูกลดหลั่นไว้ตามไหล่เขา และความสมบูรณ์ของธรรมชาตินั้นเอง ทำให้นักท่องเที่ยวพากันเข้ามาพักผ่อน ชมธรรมชาติของหมู่บ้านมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งผู้นำหมู่บ้าน และชาวบ้านแม่กำปองเปิดหมู่บ้านให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
Read More“ข้าวซ้อมมือ”ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง แต่ปัจจุบันคนในชุมชนบริโภคข้าวขาวที่ผ่านการสีจากโรงสีข้าวขาวที่รับจ้างสีทั่วไป หากจะบริโภคข้าวกล้องต้องซื้อจากตลาดทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ทั้งที่แต่ละบ้านก็มีการทำนาปลูกข้าวไว้บริโภคกันภายในชุมชน หลังจากโครงการวิจัยสิ้นสุดลง ทำให้คนในชุมชน นำโดยนางวริษา จิตใหญ่ ผู้ใหญ่บ้านแป้นใต้และหัวหน้าโครงการวิจัย เกิดความตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงมีการหารือเรื่องการจัดตั้งโรงสีข้าวของชุมชนที่สามารถสีข้าวได้ทั้งข้าวขาวและข้าวกล้อง
Read Moreหากมองย้อนไปการทำงานชุมชน การพัฒนาท้องถิ่น ทั้งส่วนราชการ องค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งมีเทคนิค วิธีการหลากหลาย แล้วแต่องค์กรไหนจะใช้เครื่องมือชนิดไหนในการทำงาน ล้วนแล้วมีเป้าหมายในการพัฒนาคือ “การเพิ่มขีดความสามารถของคนในชุมชนให้เขาได้ริเริ่ม ได้ตัดสินใจด้วยตัวของเขาเอง”2 งานวิจัยท้องถิ่นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ตอบเป้าหมายนั้น เป็นการสร้างโอกาสให้ชาวบ้านได้ใช้เครื่องมือวิจัยทำงานชุมชน นำไปสู่การแก้ปัญหา สร้างการเปลี่ยนแปลง ตามความต้องการของคนท้องถิ่น
Read Moreวันนี้ชุมชนบ้านดง ตำบลนายาง ประกาศตัวเป็นหมู่บ้านปลอดเหล้าในงานศพ 100 % สร้างความภาคภูมิใจให้กับคนในชุมชนที่สามารถเป็นต้นแบบของวิธีการและรูปแบบการเรียนรู้ มีอีกหลาย ๆ โครงการที่ต่อยอดวิธีการคิดจากงานจัดระเบียบสังคม ลดเหล้าในงานศพของหมู่บ้าน เช่นงานด้านสาธารณสุข งานด้านการป้องกันอุบัติภัยจราจร การจัดค่ายพุทธธรรมสำหรับเยาวชนเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมในระดับตำบล เป็นต้น ซึ่งถือว่าชุมชนสามารถใช้กระบวนการคิดและวิเคราะห์ปรับกระบวนท่าเพื่อตอบสนองความเป็นตัวตนที่แท้จริงด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธาว่า “ชาวบ้านสามารถจัดรูปแบบและแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสมและลงตัว” และความเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจนคือ ความสมัครสมานสามัคคี และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องราวของหมู่บ้านอย่างจริงจัง จากการลองผิดลองถูก เกิดปัญหาและร่วมกันแก้ไข และคิดสิ่งใหม่ ๆ มาทดแทน ทำให้เกิดความชำนาญทางความคิดและสามารถคิดเป็นระบบได้มากขึ้น
Read Moreบ้านแม่ยางส้าน ในอดีตมีป่าไผ่และป่าต้นน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ต่อมาเมื่อคนในชุมชนเริ่มหันมาใช้ประโยชน์หากินจากป่ามากขึ้น มีการสนับสนุนจากภาครัฐให้ปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว จึงทำให้ป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์ถูกทำลาย การที่ป่าถูกทำลายอย่างรุนแรง ส่งผลให้หนอนไม้ไผ่ (คิเบาะ) และ กบ (เดะบือ) เริ่มหายไปจากพื้นที่ เพราะไม่มีที่อยู่อาศัย และส่วนหนึ่งได้ถูกชุมชนจับไปบริโภคมากขึ้น เนื่องจากชุมชนได้หันมาให้ความสำคัญต่อเศรษฐกิจในครอบครัว ไม่ค่อยมีความเชื่อเรื่องผีป่าดังในอดีตที่ผ่านมา
Read More“บานหับ-เผย” เป็นแบบประตูระบายน้ำ ที่ชาวบ้านคิดค้นขึ้นเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในการ ปิด-เปิด ประตูระบายน้ำ ระหว่างคนฝั่งน้ำจืด และฝั่งน้ำเค็มที่ยืดเยื้อยาวนานมาเกือบ 20 ปี ความขัดแย้งที่นับวันจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แม้กระทั่งญาติมิตรก็ไม่เว้น
Read Moreหลักสูตรท้องถิ่นเชียงดาว แตกต่างจากหลักสูตรท้องถิ่นที่โรงเรียนอื่น ๆ จัดขึ้น เนื่องจากแนวคิดในการจัดทำหลักสูตรล้วนพัฒนามากจากการก่อตัวของชาวบ้านในพื้นที่ ที่ต้องการแก้ไขปัญหาของตัวเองโดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดเวทีระดมความคิด และระดมปัญหาที่เกิดขั้นภายในหมู่บ้านรวมถึงเกิดจากการรวบรวมข้อมูลสภาพของอำเภอเชียงดาวและปัญหาต่าง ๆ ในทุกด้านเพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อ—โดยเฉพาะเนื้อหาของหลักสูตรที่จำกำหนดให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ในอนาคต
Read Moreงานวิจัยการท่องเที่ยววิถีชาวนาต้องทำให้เกิด Destination เกิดเป็น loop เป็น Corridors เป็น Theme คืออาจจะต้องไปชี้เป้าให้เขา ดึงศักยภาพและคุณค่าออกมา และการสร้างโอกาสทางการท่องเที่ยว จากที่เป็นเมืองหลัก และเชื่อมต่อกับเมืองรอง สร้างให้เกิดเส้นทางที่เป็น loop หรือ Corridors ต้องสร้าง Theme ขึ้นมา เช่น ภูผาสู่มหานที เป็นต้น ไม่ใช่เอา Area based เป็นตัวตั้ง
Read Moreจากชุมชนที่ “ถูกเที่ยว” ลุกขึ้นมาจัดการเรื่องการท่องเที่ยวด้วยตัวเอง ผ่านการทำงานวิจัยภายใต้ชุดประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตั้งแต่ปี 2544 และใช้กระบวนการวิจัยในการพัฒนาคน พัฒนาพื้นที่ พัฒนาศักยภาพของชุมชน กระทั่งปัจจุบันกลายต้นแบบ “การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน” ให้กับชุมชนอื่น ๆ อีกหลายพื้นที่
Read Moreตำบลแหลมกลัด อำเภอเมือง จังหวัดตราดเป็นพื้นที่ติดชายแดนไทย–กัมพูชา มีลักษณะเป็นแหลมยื่นออกมานอกทะเลฝั่งอ่าวไทยด้านทิศตะวันตกส่วนด้านทิศตะวันออกอยู่ติดกับเทือกเขาบรรทัดที่ทอดยาวไปจดสุดชายแดน สมบัติจากทะเลที่ขึ้นชื่อ ณ บ้านแห่งนี้ก็คงหนีไม่พ้น“หอยขาว” สัตว์น้ำเล็ก ๆ ที่ชาวบ้านนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ อาทิ หอยขาวทอดกรอบ หอยขาวอบสมุนไพรซึ่งปัจจุบัน ได้รับการยกย่องให้เป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่สามารถสร้างชื่อเสียงและรายได้ให้กับคนในตำบลแห่งนี้ได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ
Read Moreเครื่องจักรและเทคโนโลยีทางการเกษตรเป็นเครื่องมือทุ่นแรงสำคัญของเกษตรกร แต่เครื่องจักรและเทคโนโลยีสำเร็จรูปที่ผลิตจากบริษัทใหญ่ ไม่มีรูปแบบให้เกษตรกรเลือกใช้สอยมากนัก อีกทั้งยังมีราคาสูง ไม่ตอบโจทย์การทำเกษตรบนบริบทของพื้นที่ที่มีสภาพภูมิประเทศแตกต่างกัน ‘เครือข่ายช่างชาวนา’ จังหวัดยโสธรต้องการศึกษา หารูปแบบเพื่อพัฒนาเครื่องไม่เครื่องมือการเกษตร เพื่อทุนแรง ลดระยะ และประหยัดเงินในการทำงาน
Read Moreท่ามกลางความพยายามหาทางออกและวางมาตรการแก้ไขปัญหาไฟป่าของทางภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน มีหมู่บ้านที่ห่างไกลจากเมืองใหญ่ ในตำบลนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็น 1 ใน 9 จังหวัดวิกฤตฝุ่นควันของภาคเหนือ ชาวบ้านทั้ง 10 หมู่บ้านในตำบลนายาง ได้ผนึกกำลังจัดการไฟป่า ภายใต้ โครงการควบคุมไฟป่าและการจัดการหมอกควัน ผลลัพธ์จากการทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างเข้มแข็งสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางบวกให้เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ภายในระยะเวลาเพียงปีครึ่ง จากที่เคยมีไฟป่าเกิดขึ้นในพื้นที่ 40 – 50 จุด บางปีเกิดขึ้นถึง 100 จุด กลับลดจำนวนลงเหลือแค่ 15 จุดทั้งอำเภอ
Read More“บ้านดง” อ.สบปราบ จ.ลำปาง ทำวิจัยโครงการนี้ในปี 2548 ด้วยงบประมาณ 60,000 บาท และงบประมาณทั้งหมดถูกใช้ไปกับการสำรวจหนี้ และที่มาของ “หนี้” ซึ่งจากการสำรวจ ชาวบ้านพบว่า “การจัดงานศพ” เป็นเหตุแห่งหนี้ จึงหาทางลดรายจ่ายจากการจัดงานศพ ซึ่งเร่ิมต้นด้วยการ “ลดเหล้า” เป็นอย่างแรก พร้อม ๆ กับหาแนวทางลดค่าใชจ่ายอื่น ๆ ในงานศพอีกหลายประการ
Read Moreบ้านสามขา , ทำวิจัยโครงการรูปแบบการจัดการหนี้สินบ้านสามขา ราวปี 2544 หลังโครงการวิจัยสิ้นสุดลง “สามขา” กลายเป็นต้นแบบในหลาย ๆ เรื่อง ทั้งการจัดการหนี้สิน การจัดการป่า และ การจัดการน้ำ — อีกทั้งยังเป็น Social Lab ให้กับหน่วยงานและองค์การต่าง ๆ ได้เข้าไปศึกษาหารูปแบบการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นระยะ ๆ
Read Moreหลังจบโครงการ การศึกษาแนวทางการจัดการป่าชายเลนเพื่อเพิ่มปริมาณปูเปี้ยวอย่างยั่งยืน ป่าชายเลนท่าฉาง อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ของประสิทธิ์ เชื้อเอี่ยม ทำให้พบว่า การปกป้องทะเลอ่าวบ้านดอน ต้องมีความร่วมไม้ร่วมมือจากชุมชนที่ใช้ประโยชน์จากอ่าว ในท้ายที่สุดก็เกิดเป็นชุดโครงการ การดูแลและอนุรักษ์อ่าวบ้านดอน เกิดเป็นทะเลชุมชน แห่งแรกของประเทศ ที่ชาวบ้านเข้าไปมีส่วนในการดูแลทรัพยากรทางทะเลของตนเอง
Read Moreชุมชนแพรกหนามแดง มีปัญหาความขัดแย้งในการปิด-เปิด ประตูน้ำระหว่างชาวบ้านฝั่งน้ำจืด และน้ำเค็มยืดเยื้อยาวนานมากว่า 20 ปี สามารถคิดค้นแบบ “ประตูระบายน้ำ” ขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีกลไก ที่สอดคล้องกับระบบน้ำของชุมชน ความขัดแย้งจึงคลี่คลายลง ความสำเร็จครั้งนี้ทำให้ชาวบ้านเห็นประโยชน์ของการใช้ข้อมูล และมีความมั่นใจในภูมิรู้ ศักยภาพในการแก้ปัญหาของชุมชนด้วยตัวเอง โดยมีกิจกรรมร่วมคิด ร่วมทำกันอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน องค์ความรู้ ของชุมชนแพรกหนามแดง ถูกยกระดับให้เป็นกรณีศึกษา การจัดการน้ำในระบบนิเวศ 3 น้ำของประเทศ
Read Moreปี พ.ศ.2542 โครงการวิจัย “การสังคายนาองค์ความรู้หมอเมือง” โดย ผศ.ดร. ยิ่งยง เทาประเสริฐ ได้เชิญกลุ่มหมอเมืองมาร่วมกันระดมสมอง และทำการสังคายนาองค์ความรู้หมอเมืองร่วมกับเครือข่ายหมอเมือง 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน จนเกิดเป็นชุด “โครงการวิจัยองค์ความรู้หมอเมืองขึ้นในภาคเหนือตอนบน” จัดทำตำราอ้างอิงกลางของการแพทย์พื้นบ้านล้านนา กระทั่งนำไปสู่การจัดตั้งวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านล้านนาในท้ายที่สุด
Read Moreโครงการวิจัย รูปแบบการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของเยาชนและผู้สูงอายุบ้านเมืองแก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ที่มี ป.เช่ สุรศักดิ์ สิงหาร ปลัดเทศบาลตำบลเมืองแกเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยรวมกับทีมวิจัยบ้านเมืองแก ได้ทำการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนเพื่อหาแนวทาง และรูปแบบการอยู่ร่วมกันของเยาวชนและผู้สูงอายุในหมู่บ้าน เนื่องจากบ้านเมืองแก ประสบปัญหาความเข้าใจกันระหว่างเยาวชนและผู้สูงอายุ เป็นเหตุทำให้เด็กวัยรุ่นออกไปก่อความเดือดร้อนรำคาญ ขณะที่ผู้สูงอายุ ก็ไม่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ทำให้ชุมชนขาดประสิทธิภาพในการพัฒนาในหลาย ๆด้าน
Read Moreความเชื่อของพี่น้องอำเภอบ่อเกลือ ในเรื่องการต่อชะตามีหลายอย่าง และนิยมทำในหลายกรณี ชาวบ้านบางกลุ่มที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับแม่น้ำชาวบ้านก็นิยมจัดพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำเพื่อต่ออายุ และความเป็นสิริมงคลจะได้เกิดขึ้นกับแม่น้ำรวมทั้งผู้คนในชุมชนไปด้วยการสืบชะตาให้กับแม่น้ำจึงเป็นการแสดงความศรัทธา ความเคารพ และเหนือสิ่งอื่นใดคือการร่วมกันแสดงออกถึงความห่วงใยต่อแม่น้ำ โดยพิธีสืบชะตาแม่น้ำนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นการต่อชีวิตให้กับแม่น้ำ และเป็นการขอขมาต่อแม่น้ำ สายน้ำที่มีความสำคัญต่อสรรพสิ่งทั้งมวลรวมถึงผู้คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำและเป็นการกระตุ้นเตือนให้คนที่อาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำมีจิตสำนึกช่วยกันรักษาสายน้ำแห่งนี้ให้ยืนยาวอย่างยั่งยืน เพราะลำน้ำว้าและลำน้ามาง เปรียบเสมือนแม่คนที่ 2 ของคนบ่อเกลือ
Read Moreภาพวันวานของระบบการผลิตข้าวได้ปรับเปลี่ยนไปพร้อมๆกับการเข้ามาของระบบอุตสาหกรรมที่ข้าวมิได้เป็นแค่อาหารที่ทำการบริโภคเพื่อเลี้ยงชีวิตของเจ้าของผู้เฮ็ดนา แต่ข้าวได้กลายมาเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดรายได้แก่เจ้าของนา ผืนนาก็เป็นสิ่งที่มีมูลค่าเสมือนโรงงานที่ผลิตวัตถุดิบในการดำรงชีพ หล่อเลี้ยงชีวิตผู้เป็นชาวนามาตั้งแต่อดีตด้วยฮีตของภูมิปัญญาที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน
Read Moreที่บ้านผาสุข ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน มีลำห้วยน้อยใหญ่รายรอบหมู่บ้าน กว่า 20 ลำห้วย นอกจากนั้นยังมีลำน้ำว้าและลำน้ำมางไหลผ่าน ทำให้บ้านผาสุข เป็นอีกชุมชนหนึ่งทีมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ มากที่สุดแห่งหนึ่งในตำบลภูฟ้า การมีน้ำท่าบริบูรณ์ เป็นผลสืบเนื่องมาจากชาวบ้านร่วมกันดูแลรักษาป่าไว้เป็นอย่างดี ชาวบ้านจึงมีน้ำสำหรับไว้อุปโภคบริโภค ทั้งการทำเกษตรและดื่มกิน ในแง่ของการจัดการ มีการทำระบบประปาภูเขาเพื่อแจกจ่ายไปจ่ายไปยังบ้านเรือนแต่ละหลังในชุมชน ปัญหาของบ้านผาสุข ถึงกระนั้นก็ตาม
Read Moreกว่าทศวรรษ ที่ชุมชนนางเลิ้ง ต้องเผชิญหน้ากับความเจริญซึ่งคืบคลานเข้ามาเป็นระรอก เนื่องจากมีแนวคิดจะนำพื้นที่บางส่วนของชุมชนไปพัฒนาเป็นย่านการค้า นั้นหมายความว่า หากโครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จ ชุมชนนางเลิ้งก็คงมีสภาพไม่ต่างจากชุมชนป้อมมหากาฬ คือเหลือเพียงชื่อ และความทรงจำ
Read Moreงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ชุดประเด็นการศึกษา ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาของ สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น เกิดข้อค้นพบหลายด้าน อาทิ เรื่องพัฒนาการของเด็ก การปรับรูปแบบการเรียนการสอนของครู หลักสูตรการเรียนการสอน ส่งผลให้เกิดทักษะในด้านการคิดวิเคราะห์ ที่เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติการจริง ทั้งตัวครูผู้สอนและเด็กผู้เรียนผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน
Read More“เมื่อก่อนข้อมูลสะเปะสะปะ ไม่เป็นระเบียบอะไรอยู่ตรงไหนไม่รู้ พอเราทำโครงการมีการจัดระบบข้อมูลให้เป็นระเบียบมากขึ้น เรื่องบัญชีการเงิน ข้อมูลเด็ก ข้อมูลการมอบทุนการศึกษามีกี่ประเภท เมื่อก่อนเราไม่เคร่งครัดขนาดไม่มีคนทำได้เงินมาคนมาลงชื่อรับเงินก็เสร็จ รับจ่ายอยู่ที่เดียวกัน ทะเบียนเด็ก อยู่ที่เดียวกันหมด พอเรามีกิจกรรมมันต้องแยกนะ อะไรอยู่ตรงไหน ข้อดีที่เรามีกฎบังคับของโครงการทำให้เรามีตรงนี้ขึ้นมาได้ แล้วพอมีแล้วหลังๆ มันก็เป็นระบบมากขึ้น”
Read Moreชุมชนเล็ก ๆ อย่างบุโบย ตำบลแหลมสน อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นชุมชนดำเนินชีวิตอย่างสงบ เงียบ หาปู หาปลา ในท้องทะเลตามกำลังและศักยภาพของแต่ละคนในชุมชน แต่ก็มีบ้างที่ถูกอวนลาก อวนรุน จากพื้นที่อื่นเข้ามาแย่งชิงทรัพยากรสัตว์น้ำจำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา แต่ภายใต้การนำของ มะอ๊ะ-หารีอ๊ะ
Read Moreผาชันเป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำโขง ตั้งอยู่ในตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี แม้จะเป็นหมู่บ้านที่อยู่ริมแม่น้ำโขง แต่ด้วยพื้นที่ของหมู่บ้านที่มีลักษณะเป็นภูเขาและหิน ลาดเอียงลงสู่แม่น้ำโขง ทำให้ไม่สามารถดูดซับและกักเก็บน้ำไว้ได้ จึงเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในการอุปโภคและบริโภคทั้งในครัวเรือนและการเกษตรระหว่างเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งปัญหาขาดแคลนน้ำในชุมชนบ้านผาชันนั้นเป็นปัญหาที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาและปริมาณการเพิ่มขึ้นของประชากร แม้ชาวบ้านจะแก้ปัญหาด้วยการขุดบ่อน้ำตื้นไว้ใช้เอง นำกระสอบทรายกั้นลำห้วยเพื่อกั้นน้ำไว้ใช้ ระดมทุนและแรงงานในการทำฝายกั้นลำห้วย หรือแม้แต่มีหลายหน่วยงานราชการเข้ามาช่วยเหลือ แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำในระยะยาวได้
Read Moreการมารวมตัวกันของ 4 องค์กรในพื้นที่ เกิดจากการทำงานอย่างเข็มข้นของศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่การวิเคราะห์บทบาทของส่วนงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดน้ำของจังหวัด ซึ่งก็พบว่า อบจ.มีงบประมาณ และมีนโยบายในเรื่องนี้ ขณะที่ทางศูนย์ประสานงานซึ่งทำหน้าที่ในนามของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ก็มีองค์ความรู้ และประสบการณ์ในด้านการทำงานชุมชน
Read Moreพื้นที่ตำบลคลองหลามีปัญหาที่สั่งสมมายาวนานคือปัญหาน้ำแล้ง โดยเฉพาะช่วงหน้าแล้ง จะเกิดปัญหาน้ำไม่เพียงพอสำหรับคนในพื้นที่ ซึ่งครอบคลุมทั้ง 7 หมู่บ้าน 1,943 ครัวเรือน จำนวน 5,127 คน พื้นที่ที่ส่งผลกระทบมากที่สุดคือ พื้นที่หมู่ 5 ต้นน้ำอยู่เหนืออ่างเก็บน้ำคลองหลา ซึ่งแต่เดิมเด็ก ๆ จะสามารถลงไปอาบน้ำในอ่างเก็บน้ำก่อนไปโรงเรียน แต่ช่วงหลัง น้ำในอ่างลดลงมากจนไม่สามารถอาบได้ ชาวบ้านต้องขอน้ำใช้จากอบต.คลองหลาทุกปี นอกจากนั้นยังมีพื้นที่หมู่ที่ 3 ที่ไม่มีอ่างเก็บน้ำ ต้องใช้น้ำบ่อในการอุปโภคบริโภคมาตลอดเกิดความแห้งแล้งด้วย และพื้นที่หมู่ที่ 7 หมู่ 6 เป็นพื้นที่ทำสวนผสมผสาน ก็ขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้ง และพื้นที่หมู่ที่ 5 บางส่วน หมู่4 หมู่ 3 – 2 และ หมู่ 1 ซึ่งเป็นพื้นที่ในการทำนาก็ไม่มีน้ำเพียงพอสำหรับการทำนาจนเกิดเห็นนาร้าง
Read Moreอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัย ต.เขากระปุก อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี เป็นอ่างเก็บน้ำ 1 ใน 84 พื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ซึ่งก่อนหน้านั้นในช่วงฤดูแล้งชาวบ้านเดือนร้อนมากเพราะไม่มีน้ำใช้ และทำการเกษตร เนื่องจากสภาพพื้นที่ในตำบลเขากระปุก เป็นพื้นที่เนินและมีสภาพดินเป็นดินเหนียวปนทราย พื้นที่แห้งแล้งมากพอหน้าฝนน้ำก็ไหลลงสู่ทะเลหมดเพราะไม่มีแหล่งน้ำเก็บกัก ในหลวง ร.๙ จึงทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการ และก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสงสัยขึ้น
Read Moreผลการศึกษาวิจัยสถานการณ์น้ำ พบว่า ไทยมีแนวโน้มผันผวนสูง และเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในหลายพื้นที่ สาเหตุจากความต้องการน้ำที่เพิ่มมากขึ้น และความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ และยังพบว่าคุณภาพน้ำมีแนวโน้มเสื่อมโทรมลง จากการระบายน้ำเสียจากชุมชน โดยเฉพาะกรุงเทพฯ มีน้ำเสียมากที่สุด
Read Moreอาจารย์ฝ่ายปกครองเผย เด็กติดยา ไม่ได้มีสาเหตุมาจากครอบครัวขาดความอบอุ่น ชี้เด็กส่วนใหญ่ พ่อแม่เลี้ยงดูดีเกินไป อีกทั้งยังซื้อง่ายขายคล่อง บางรายซื้อขายกันข้างรั้วโรงเรียน ด้านผู้ใหญ่บ้านออกกฏเหล็ก หากพบใครเสพ อาจถูกโดดเดียว บางรายไม่เชื่อฟังอาจถึงขั้นขับออกนอกหมู่บ้าน นายนพรัตน์ อ่อนคำ อาจารย์ 2 ระดับ 7 หัวหน้าฝ่ายปกครองในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชียงใหม่ กล่าวในเวทีสัมมนา “การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรท้องถิ่นด้านสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน”
Read Moreชาวบ้านแม่กำปองมีความตั้งใจที่จะใช้กระบวนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน และกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ด้วยการออกกฎระเบียบและแนวทางการใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรที่ชุมชนมีอยู่ เอื้อต่อการเสริมสร้างความเข้าใจ และร่วมมือกันของคนในชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และรักษาดุลยภาพของระบบนิเวศ อันเป็นต้นทุนที่ชุมชนมีอยู่เดิมให้มีความมั่นคง และพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนต่อไป
Read Moreทุกวันนี้…การที่เรายังมีอาหารกินครบทุกมื้อไม่ได้หมายความว่า “แหล่งผลิตอาหาร” ของประเทศกำลังรอดพ้นจากภัยคุกคาม เพราะสิ่งบ่งชี้หลาย ๆ ด้านได้ระบุชัดแล้วว่า “แหล่งผลิตอาหาร” ของไทย และของโลกกำลังถูกคุกคาม อาทิภาวะโลกร้อน , ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ระบบการเกษตรที่ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามกลไกการตลาดของโลก การถูกกำหนดราคาของพืชผลการเกษตรจากกลุ่มพ่อค้า และยังมิพักต้องเอ่ยถึง “การกิน” ซึ่งก็มีส่วนสำคัญในการสร้างผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของคนเราเช่นเดียวกัน และแม้จะมีการออกมาพูดเรื่อง
Read Moreบ้านผาหมอนได้ผ่านกระบวนการทางด้านการตลาดที่มีกรอบจากงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นโดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย.สกว.เมื่อปี พ.ศ.2547 จากกรอบงานวิจัยวันนั้นชุมชนสามารถกำหนดทิศทางในการคัดกรองแสวงหาพันธมิตรทางการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้มีความเหมาะสมต่อการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตนเอง
Read Moreการวิจัยการท่องเที่ยวชุมชนบนฐานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจึงมิใช่เพียงความรู้ที่ว่าด้วยการจัดการท่องเที่ยวเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจและรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นเท่านั้น แต่เป็นการจัดการท่องเที่ยวเพื่อฟื้นชีวิตชุมชนท้องถิ่นในทุกด้าน ซึ่งอาจจะเป็นการฟื้นนิเวศชุมชนทั้งดิน น้ำ ป่า การฟื้นวัฒนธรรมชุมชนทั้งวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญา การเกื้อกูลแบ่งปัน ให้เกิดขึ้นในชุมชน พร้อมกับการฟื้นปัญญาให้เห็นหนทางการค้นหา การพัฒนา และการประยุกต์ใช้ความรู้ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนท้องถิ่นและสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
Read Moreบ้านผาสุข ตำบลภูฟ้า อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร คือ ทำนา ปลูกข้าวโพด รองลงมาประกอบอาชีพ รับจ้างทั่วไปและหาของป่า มีลำห้วยน้อยใหญ่ประมาณ 20 ลำห้วยที่อยู่ในพื้นที่ของหมู่บ้าน รวมถึงมีลำน้ำว้าและลำน้ำมางไหลผ่านหมู่บ้าน ซึ่งชุมชนถือว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและ แหล่งอาหารมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะการใช้น้ำจากแหล่งน้ำในผืนป่าธรรมชาติ ที่ยังคงอุดมสมบูรณ์และเป็นป่าต้นน้ำที่สำคัญ ซึ่งชาวบ้านได้ร่วมกันอนุรักษ์และรักษาไว้ประมาณ 2,500
Read Moreการที่ สกว. ได้ดำเนินโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นมา ๒๐ ปี ได้สร้างทุนทางความคิด ความรู้ คนที่มีความสามารถในการวิจัย และการจัดการไว้มากพอสมควร เป็นฐานที่จะทาให้คิดและดำเนินการเรื่องการวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเรื่องใหญ่ต่อไปในเฟสที่ ๒ หรือ ๒๐ ปีข้างหน้า การที่จะทาให้การวิจัยท้องถิ่นเป็นเรื่องใหญ่ในเฟส ๒ ต้องการจินตนาการใหญ่ การปรับแนวคิด แนวทาง และการจัดการ
Read Moreบ้านผาหมอน เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เหตุผลที่เรียกผาหมอนก็เพราะ ใกล้ ๆ ชุมชนมีภูเขาลูกย่อมๆ ลักษณะคล้ายหมอน ชาวบ้านจึงเรียกว่า “บ้านผาหมอน” และด้วยความพิเศษของพื้นที่ที่อยู่บนต้นน้ำ ทำให้หมู่บ้านแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีต้นไม้น้อยใหญ่หลายขนาดที่สมบูรณ์ และก่อนที่จะประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติในปัจจุบัน ชาวบ้านที่นี่ทำอาชีพเกษตรเป็นอาชีพหลัก ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทำให้เกิดการส่งเสริมอาชีพเกษตรให้กับชาวบ้านผ่านการทำงานของมูลนิธิโครงการหลวง จึงทำให้ ชาวบ้านมีอาชีพ มีงาน และมีรายได้หลักจากอาชีพเกษตร ซึ่งมีทั้งพืชผลเมืองหนาว ไม้ดอก ไม้ประดับ ผัก ผลไม้ ที่มีการส่งเสริมทั้งด้านความรู้ วัสดุ อุปกรณ์และอื่นๆ อีกมากมายจากโครงการหลวง
Read Moreจากเกษตรกรธรรมดา ๆ และขยับขึ้นมาเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านที่บ้านนาห้าง ตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี การทำงานรับใช้ชาวบ้านเป็นที่เข้าตา และได้รับการคัดเลือกให้เป็น ผู้ใหญ่บ้าน ในที่สุด
“ผมทำงานจริงจัง ทำเพื่อชาวบ้าน เขาก็ให้ความสำคัญ เลยเลือกให้ผมเป็นผู้ใหญ่บ้าน ก็เป็นอยู่ 11 วัน เมื่อกำนันคนเก่าเกษียณอายุ ชาวบ้านก็เลือกผมเป็นกำนัน เพราะผลงานเข้าตา”
Read More“ถ้ามองถึงความยั่งยืนหลายคนมองไปที่การท่องเที่ยวอย่างเดียว แต่ผมว่าท่องเที่ยวมันจะยิ่งยืนได้มันต้อง ทำให้สิ่งที่เป็นปัจจัยนั้นอยู่ได้ก่อน เช่นป่าไม่เหลือจะยั่งยืนได้อย่างไร และใครล่ะจะทำให้ป่าไม่เหลือก็คือคนนั่นเอง เพราะฉะนั้นเราก็ต้องไปทำความเข้าใจกับคนก่อน พอเข้าใจก็ต้องสร้างกติกาออกมาร่วมกัน และปฏิบัติร่วมกัน”
Read Moreการเป็นนักวิจัยเราต้องลงไปทำงานกับทีมกับชาวบ้าน ไปสัมผัสกับงานกับชาวบ้านใหม่ มันเหมือนการฝึกตัวเอง ซึ่งในการทำงานพัฒนา กระบวนการหาข้อมูล กระบวนการหาคำตอบในเรื่องนี้มันยังไม่ค่อยชัด ที่ผ่านมามีเพียงกรอบการทำงานที่มาจากข้างบน แล้วเวลาเราออกแบบมันเหมือนไกด์ไลน์ว่าต้องออกแบบเป็นให้ตรงกับกรอบที่ได้มา แต่สำหรับงานวิจัยมันไม่มีกรอบอะไรแบบนั้น สำหรับผม กรอบจากส่วนกลางคือกำแพงที่กันไม่ให้เราคิดนอกกรอบ สำหรับงานวิจัย มันต้องเริ่มจากโจทย์ จากคำถาม ตัวอย่างเช่นเรามีโจทย์หลัก ๆ ว่าเราทำยังไงให้ผู้สูงอายุ และเด็กมีความสัมพันธ์กันดีขึ้น แล้วจะหาวิธียังไง ผมว่าเป็นเรื่องท้าทายกับตัวเอง ซึ่งพอเราได้โจทย์ โจทย์ก็จะพาเราไปหาข้อมูล ความรู้ เพื่อนำมาในการสร้างความสัมพันธุ์ของผู้สูงอายุและเด็ก
Read Moreจากเด็กชายที่มีความฝันในอยากเป็นรั้วของชาติ เพื่อมาทดแทนอารมณ์ความรู้สึกในวัยเด็กที่อยากแสดงออกถึงความรักแผ่นดินบ้านเกิด รักแผ่นดินไทย รักประเทศไทย มิใช่เป็นเพียงส่วนเกิน ตัวถ่วง ตัวปัญหา ที่สร้างภัยต่อชาติแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม มีความยีนดีและพร้อมที่จะตอบแทนคุณแผ่นดินทุกยามเมื่อมีโอกาส การรับใช้ชาติโดยการเป็นทหารเป็นสิ่งที่จับต้องและมองเห็นได้เป็นรูปธรรมมากที่สุดที่จะแสดงออกมา ตามความคิดในวัยมัธยม มิได้เพียงแค่คิดแต่มุ่งหาทางเพื่อไปสู่เป้าหมายให้ได้
Read Moreชาวมลาบรี (ตองเหลือง) ที่หมู่บ้านห้วยฮ่อมพัฒนา เทศบาล ต.บ้านเวียง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ได้ทำโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น เรื่อง “สร้างระบบตัวเขียนภาษามลาบรีเพื่อบันทึกความทรงจำทั้งชีวิตของชาวมลาบรี” โดยได้มีการพัฒนาระบบตัวเขียน จัดเก็บเรื่องราวต่างๆ ของชาวมลาบรีเพื่อเป็นการฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมของตน โดยมีนายวีระ ศรีชาวป่า เป็นหัวหน้าโครงการ และมีคณะทำงานซึ่งเป็นเยาวชนและชาวมลาบรีอื่นๆ ในชุมชนบ้านห้วยฮ่อมเป็นทีมวิจัย
Read Moreเศรษฐกิจพิเศษ…ในพื้นที่พิเศษ “แม่สอดเป็นเมืองพหุวัฒนธรรม แต่ถ้าพูดถึง 5 อำเภอชายแดน ประชากรหลัก และวัฒนธรรมหลักของคนที่นี่คือปกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยง เพราะฉะนั้นพอเขตเศรษฐกิจพิเศษเข้ามา พี่น้องทีนี่เขาก็ไม่ได้ปฏิเสธเรื่องของเศรษฐกิจพิเศษ เพราะว่าก่อนหน้าที่เรื่องของเศรษฐกิจพิเศษเข้ามา พื้นที่ตรงนี้มันมีความพิเศษทางเศรษฐกิจอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้า การขาย ฝั่งนี้เอาของไปขายฝั่งพม่า มีแรงงานจากที่นู่นมาเกิดที่นี่ มันมีการแลกเปลี่ยน สินค้า แรงงาน
Read Moreการตัดสินใจของคนในชุมชนท้องถิ่นหลายเรื่องมักจะวางบนฐานความเคยชินหรือความรู้เบื้องต้นที่เคยรับรู้มา และในหลายครั้งวางบนฐานเฉพาะหน้าของการชี้นำจากผู้มีอำนาจ ทั้งผู้มีอำนาจทางวิชาการ ผู้มีอำนาจทางการเมืองการปกครอง ผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจ หรือผู้มีอำนาจทางสังคม
Read Moreดร.สมคิด แก้วทิพย์ ++++ ในฐานะที่เป็น 1 ในผู้บุกเบิกงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา อาจารย์ดร.สมคิด แก้วทิพย์ ก็ยังคงเฝ้าติดตาม ถามไถ่ รวมทั้งสนับสนุน “ไอเดีย” ในบางโอกาส เพื่อให้ “งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” ก้าวเดินไปข้างหน้าตาม เจตนารมณ์เริ่มต้น “ซึ่งการเกิดขึ้นของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในขณะนั้น
Read Moreการสร้างคนในมุมมองการวิจัยเพื่อท้องถิ่นคือการสร้างนักวิจัยที่เป็นพุทธะ เป็นผู้ตื่น เป็นผู้รู้ เป็นผู้เบิกบาน นั่นคือนักวิจัยที่มีประมาณ 20-30 คน ต่อประเด็นนั้น ต้องลงมือทำความเข้าใจกับสถานการณ์ปัญหาของชุมชนเอง ทำความเข้าใจในเหตุแห่งปัญหานั้น ๆ และลงมือปฏิบัติการร่วมกันเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ต้องการ ดังนั้นนักวิจัยจึงเป็นผู้มีสติ ตื่น รู้ ในเรื่องราวที่ตนเองวิจัย และเนื่องจากงานวิจัยชาวบ้านเป็นการค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาของชาวบ้านเอง เมื่อเกิดการแก้ปัญหาได้ ก็จะเกิดการเบิกบานโดยทั่วหน้ากัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีผู้ได้รับผลจากการวิจัยในวงกว้าง
Read More“ความเหลื่อมล้ำ” ที่ถ่างกว้างขึ้นส่งผลกระทบต่อการพัฒนาสังคม โดยเฉพาะกับกลุ่มคนระดับล่างอย่างมากมากมหาศาล นีคือ 8 วิธีการทีจะพาสังคมไทยหลุดพ้นออกจากความเหลื่อมล้ำ
Read Moreศ.ดร.ปิยะวัติ บุญ-หลง , ผู้ริเริ่มงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ตั้งแต่เริ่มมีสิ่งที่เรียกว่า “งานวิจัย” ก็เริ่มคำพูดว่า “งานวิจัยขึ้นหิ้ง” ซึ่งแปลว่านักวิจัยมักทำวิจัยอยู่ในโลกของตัวเอง ทำเองรู้ เองไม่เกิดประโยชน์กับคนทั่วไป จึงไม่ควรสนับสนุน ปัญหาอย่างนี้เป็นเฉพาะประเทศไทยหรือไม่? ถ้ามองไปที่ประเทศอื่นๆ ว่าเขาทำอย่างไร ก็พบว่างานวิจัยของเขาก็ขึ้นหิ้งเหมือนกัน แต่ขึ้นชั่วคราวเท่านั้น เพราะเขามีงานวิจัยอยู่ใน 3 ภาคพร้อมๆ กัน ที่จะนำงานวิจัย “ลง” มาจากหิ้ง คือ
Read Moreการเข้าไม่ถึงปัจจัยต่าง ๆ เราเรียกมันว่า “ความเหลื่อมล้ำ” และความเหลื่อมล้ำที่ว่านี้ก็นำไปสู่การละเมิดสิทธิ์ การแย่งชิงฐานทรัพยากร ฯลฯ ซึ่งผลของความเหลื่อมล้ำที่ปรากฏชัดเจนที่สุดคือ “ความยากจน” และความยากจน ย่อมส่งผลกระทบเชิงลบในทุก ๆ มิติ โดยเฉพาะการศึกษา ปัจจุบันเรามีเด็กมากกว่า 8 ล้านคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือด้วยเหตุผลมาจากความยากจนของพ่อแม่ และ ครอบครัว
Read More“ความคิดผมก็คือ เราไม่น่าจะทิ้งจุดแข็งของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นคือการทำงานเล็ก ๆ ให้ลึก แต่เราเพิ่มจำนวนให้มากขึ้นพอที่จะเป็นพลังในพื้นที่ได้มากกว่าการยกระดับขึ้นมาให้เป็นโจทย์ใหญ่แล้วผลักสู่นโยบาย แต่เราควรยื่นยันแบบเดิม แบบเดิมหมายความว่า ทำกับชุมชนหรือในหมู่บ้าน แต่ทำอย่างลึก อย่างชัด และคนที่อยู่ในชุมชนเป็นคนทำ มากกว่าที่จะเอางานวิจัยที่มีอยู่แล้วไปขยายหรือทำนโยบาย หรือว่าทำงานกับใครต่อใครที่เป็นโจทย์ใหญ่ เพราะการจะผลักงานให้ไปถึงข้างบนได้เราต้องมีกำลังที่มากพอ หรืออาจจะทำคู่ขนานกันไป ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิด ซึ่งเราอาจจะถอดสิ่งที่ทำมา หรือ เชื่อมโยงสิ่งที่ทำมาเข้าไปในระบบใหญ่”
Read More