หากมองย้อนไปการทำงานชุมชน การพัฒนาท้องถิ่น ทั้งส่วนราชการ องค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งมีเทคนิค วิธีการหลากหลาย แล้วแต่องค์กรไหนจะใช้เครื่องมือชนิดไหนในการทำงาน ล้วนแล้วมีเป้าหมายในการพัฒนาคือ “การเพิ่มขีดความสามารถของคนในชุมชนให้เขาได้ริเริ่ม ได้ตัดสินใจด้วยตัวของเขาเอง”2 งานวิจัยท้องถิ่นเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ตอบเป้าหมายนั้น เป็นการสร้างโอกาสให้ชาวบ้านได้ใช้เครื่องมือวิจัยทำงานชุมชน นำไปสู่การแก้ปัญหา สร้างการเปลี่ยนแปลง ตามความต้องการของคนท้องถิ่น
Read More“บานหับ-เผย” เป็นแบบประตูระบายน้ำ ที่ชาวบ้านคิดค้นขึ้นเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในการ ปิด-เปิด ประตูระบายน้ำ ระหว่างคนฝั่งน้ำจืด และฝั่งน้ำเค็มที่ยืดเยื้อยาวนานมาเกือบ 20 ปี ความขัดแย้งที่นับวันจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แม้กระทั่งญาติมิตรก็ไม่เว้น
Read Moreเครื่องจักรและเทคโนโลยีทางการเกษตรเป็นเครื่องมือทุ่นแรงสำคัญของเกษตรกร แต่เครื่องจักรและเทคโนโลยีสำเร็จรูปที่ผลิตจากบริษัทใหญ่ ไม่มีรูปแบบให้เกษตรกรเลือกใช้สอยมากนัก อีกทั้งยังมีราคาสูง ไม่ตอบโจทย์การทำเกษตรบนบริบทของพื้นที่ที่มีสภาพภูมิประเทศแตกต่างกัน ‘เครือข่ายช่างชาวนา’ จังหวัดยโสธรต้องการศึกษา หารูปแบบเพื่อพัฒนาเครื่องไม่เครื่องมือการเกษตร เพื่อทุนแรง ลดระยะ และประหยัดเงินในการทำงาน
Read Moreบ้านสามขา , ทำวิจัยโครงการรูปแบบการจัดการหนี้สินบ้านสามขา ราวปี 2544 หลังโครงการวิจัยสิ้นสุดลง “สามขา” กลายเป็นต้นแบบในหลาย ๆ เรื่อง ทั้งการจัดการหนี้สิน การจัดการป่า และ การจัดการน้ำ — อีกทั้งยังเป็น Social Lab ให้กับหน่วยงานและองค์การต่าง ๆ ได้เข้าไปศึกษาหารูปแบบการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นระยะ ๆ
Read Moreชุมชนแพรกหนามแดง มีปัญหาความขัดแย้งในการปิด-เปิด ประตูน้ำระหว่างชาวบ้านฝั่งน้ำจืด และน้ำเค็มยืดเยื้อยาวนานมากว่า 20 ปี สามารถคิดค้นแบบ “ประตูระบายน้ำ” ขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีกลไก ที่สอดคล้องกับระบบน้ำของชุมชน ความขัดแย้งจึงคลี่คลายลง ความสำเร็จครั้งนี้ทำให้ชาวบ้านเห็นประโยชน์ของการใช้ข้อมูล และมีความมั่นใจในภูมิรู้ ศักยภาพในการแก้ปัญหาของชุมชนด้วยตัวเอง โดยมีกิจกรรมร่วมคิด ร่วมทำกันอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน องค์ความรู้ ของชุมชนแพรกหนามแดง ถูกยกระดับให้เป็นกรณีศึกษา การจัดการน้ำในระบบนิเวศ 3 น้ำของประเทศ
Read More