“ข้าวซ้อมมือ”ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง แต่ปัจจุบันคนในชุมชนบริโภคข้าวขาวที่ผ่านการสีจากโรงสีข้าวขาวที่รับจ้างสีทั่วไป หากจะบริโภคข้าวกล้องต้องซื้อจากตลาดทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ทั้งที่แต่ละบ้านก็มีการทำนาปลูกข้าวไว้บริโภคกันภายในชุมชน หลังจากโครงการวิจัยสิ้นสุดลง ทำให้คนในชุมชน นำโดยนางวริษา จิตใหญ่ ผู้ใหญ่บ้านแป้นใต้และหัวหน้าโครงการวิจัย เกิดความตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงมีการหารือเรื่องการจัดตั้งโรงสีข้าวของชุมชนที่สามารถสีข้าวได้ทั้งข้าวขาวและข้าวกล้อง
Read Moreวันนี้ชุมชนบ้านดง ตำบลนายาง ประกาศตัวเป็นหมู่บ้านปลอดเหล้าในงานศพ 100 % สร้างความภาคภูมิใจให้กับคนในชุมชนที่สามารถเป็นต้นแบบของวิธีการและรูปแบบการเรียนรู้ มีอีกหลาย ๆ โครงการที่ต่อยอดวิธีการคิดจากงานจัดระเบียบสังคม ลดเหล้าในงานศพของหมู่บ้าน เช่นงานด้านสาธารณสุข งานด้านการป้องกันอุบัติภัยจราจร การจัดค่ายพุทธธรรมสำหรับเยาวชนเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมในระดับตำบล เป็นต้น ซึ่งถือว่าชุมชนสามารถใช้กระบวนการคิดและวิเคราะห์ปรับกระบวนท่าเพื่อตอบสนองความเป็นตัวตนที่แท้จริงด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธาว่า “ชาวบ้านสามารถจัดรูปแบบและแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสมและลงตัว” และความเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจนคือ ความสมัครสมานสามัคคี และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องราวของหมู่บ้านอย่างจริงจัง จากการลองผิดลองถูก เกิดปัญหาและร่วมกันแก้ไข และคิดสิ่งใหม่ ๆ มาทดแทน ทำให้เกิดความชำนาญทางความคิดและสามารถคิดเป็นระบบได้มากขึ้น
Read Moreบ้านแม่ยางส้าน ในอดีตมีป่าไผ่และป่าต้นน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ต่อมาเมื่อคนในชุมชนเริ่มหันมาใช้ประโยชน์หากินจากป่ามากขึ้น มีการสนับสนุนจากภาครัฐให้ปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว จึงทำให้ป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์ถูกทำลาย การที่ป่าถูกทำลายอย่างรุนแรง ส่งผลให้หนอนไม้ไผ่ (คิเบาะ) และ กบ (เดะบือ) เริ่มหายไปจากพื้นที่ เพราะไม่มีที่อยู่อาศัย และส่วนหนึ่งได้ถูกชุมชนจับไปบริโภคมากขึ้น เนื่องจากชุมชนได้หันมาให้ความสำคัญต่อเศรษฐกิจในครอบครัว ไม่ค่อยมีความเชื่อเรื่องผีป่าดังในอดีตที่ผ่านมา
Read More“บานหับ-เผย” เป็นแบบประตูระบายน้ำ ที่ชาวบ้านคิดค้นขึ้นเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในการ ปิด-เปิด ประตูระบายน้ำ ระหว่างคนฝั่งน้ำจืด และฝั่งน้ำเค็มที่ยืดเยื้อยาวนานมาเกือบ 20 ปี ความขัดแย้งที่นับวันจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แม้กระทั่งญาติมิตรก็ไม่เว้น
Read Moreหลักสูตรท้องถิ่นเชียงดาว แตกต่างจากหลักสูตรท้องถิ่นที่โรงเรียนอื่น ๆ จัดขึ้น เนื่องจากแนวคิดในการจัดทำหลักสูตรล้วนพัฒนามากจากการก่อตัวของชาวบ้านในพื้นที่ ที่ต้องการแก้ไขปัญหาของตัวเองโดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดเวทีระดมความคิด และระดมปัญหาที่เกิดขั้นภายในหมู่บ้านรวมถึงเกิดจากการรวบรวมข้อมูลสภาพของอำเภอเชียงดาวและปัญหาต่าง ๆ ในทุกด้านเพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อ—โดยเฉพาะเนื้อหาของหลักสูตรที่จำกำหนดให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ในอนาคต
Read More