Tag: โครงการวิจัยในตำนาน

CBT.- การท่องเที่ยวโดยชุมชน แหล่งเรียนรู้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น

ชุมชนแม่กำปอง

จาก “ความรู้” สู่หมู่บ้านท่องเที่ยว                 บ้านแม่กำปองตั้งอยู่บนภูเขาสูง  ผืนป่ารอบหมู่บ้านป่าเขตร้อน   มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติ  อันได้แก่ น้ำตก  แม่กำปอง น้ำตกธารทอง  ตลอดจนสวนเมี่ยงที่ปลูกลดหลั่นไว้ตามไหล่เขา                  และความสมบูรณ์ของธรรมชาตินั้นเอง ทำให้นักท่องเที่ยวพากันเข้ามาพักผ่อน ชมธรรมชาติของหมู่บ้านมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งผู้นำหมู่บ้าน และชาวบ้านแม่กำปองเปิดหมู่บ้านให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

Read More
artical

“บ้านดง,จ.ลำปาง” ต้นแบบ “ลดเหล้างานศพ”

“บ้านดง” อ.สบปราบ จ.ลำปาง ทำวิจัยโครงการนี้ในปี 2548 ด้วยงบประมาณ 60,000 บาท และงบประมาณทั้งหมดถูกใช้ไปกับการสำรวจหนี้ และที่มาของ “หนี้” ซึ่งจากการสำรวจ ชาวบ้านพบว่า “การจัดงานศพ” เป็นเหตุแห่งหนี้ จึงหาทางลดรายจ่ายจากการจัดงานศพ ซึ่งเร่ิมต้นด้วยการ “ลดเหล้า” เป็นอย่างแรก พร้อม ๆ กับหาแนวทางลดค่าใชจ่ายอื่น ๆ ในงานศพอีกหลายประการ

Read More
KNOWLEGE โครงการวิจัย-2547

บ้านสามขา : กระบวนการสู่ความเป็นไท

บ้านสามขา , ทำวิจัยโครงการรูปแบบการจัดการหนี้สินบ้านสามขา ราวปี 2544 หลังโครงการวิจัยสิ้นสุดลง “สามขา” กลายเป็นต้นแบบในหลาย ๆ เรื่อง ทั้งการจัดการหนี้สิน การจัดการป่า และ การจัดการน้ำ — อีกทั้งยังเป็น Social Lab ให้กับหน่วยงานและองค์การต่าง ๆ ได้เข้าไปศึกษาหารูปแบบการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นระยะ ๆ

Read More
artical

แนวทางการจัดการทะเลชุมชน อ่าวบ้านดอน

หลังจบโครงการ การศึกษาแนวทางการจัดการป่าชายเลนเพื่อเพิ่มปริมาณปูเปี้ยวอย่างยั่งยืน ป่าชายเลนท่าฉาง อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ของประสิทธิ์ เชื้อเอี่ยม ทำให้พบว่า การปกป้องทะเลอ่าวบ้านดอน ต้องมีความร่วมไม้ร่วมมือจากชุมชนที่ใช้ประโยชน์จากอ่าว ในท้ายที่สุดก็เกิดเป็นชุดโครงการ การดูแลและอนุรักษ์อ่าวบ้านดอน เกิดเป็นทะเลชุมชน แห่งแรกของประเทศ ที่ชาวบ้านเข้าไปมีส่วนในการดูแลทรัพยากรทางทะเลของตนเอง

Read More
การจัดการน้ำ

ความขัดแย้งและการคลี่คลายปัญหา“น้ำ” ของชุมชนแพรกหนามแดง

ชุมชนแพรกหนามแดง มีปัญหาความขัดแย้งในการปิด-เปิด ประตูน้ำระหว่างชาวบ้านฝั่งน้ำจืด และน้ำเค็มยืดเยื้อยาวนานมากว่า 20 ปี สามารถคิดค้นแบบ “ประตูระบายน้ำ” ขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีกลไก ที่สอดคล้องกับระบบน้ำของชุมชน ความขัดแย้งจึงคลี่คลายลง ความสำเร็จครั้งนี้ทำให้ชาวบ้านเห็นประโยชน์ของการใช้ข้อมูล และมีความมั่นใจในภูมิรู้ ศักยภาพในการแก้ปัญหาของชุมชนด้วยตัวเอง โดยมีกิจกรรมร่วมคิด ร่วมทำกันอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน องค์ความรู้ ของชุมชนแพรกหนามแดง ถูกยกระดับให้เป็นกรณีศึกษา การจัดการน้ำในระบบนิเวศ 3 น้ำของประเทศ

Read More