KNOWLEGE

KNOWLEGE

จากทำเนียบหมอเมือง สู่ วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก

ปี พ.ศ.2542 โครงการวิจัย “การสังคายนาองค์ความรู้หมอเมือง” โดย ผศ.ดร. ยิ่งยง เทาประเสริฐ ได้เชิญกลุ่มหมอเมืองมาร่วมกันระดมสมอง และทำการสังคายนาองค์ความรู้หมอเมืองร่วมกับเครือข่ายหมอเมือง 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน จนเกิดเป็นชุด “โครงการวิจัยองค์ความรู้หมอเมืองขึ้นในภาคเหนือตอนบน” จัดทำตำราอ้างอิงกลางของการแพทย์พื้นบ้านล้านนา กระทั่งนำไปสู่การจัดตั้งวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านล้านนาในท้ายที่สุด

Read More
artical KNOWLEGE

ปากท้อง และการศึกษา เพิ่มช่องว่างระหว่างเด็กและผู้ใหญ่

โครงการวิจัย รูปแบบการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของเยาชนและผู้สูงอายุบ้านเมืองแก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์  ที่มี ป.เช่ สุรศักดิ์ สิงหาร ปลัดเทศบาลตำบลเมืองแกเป็นหัวหน้าโครงการวิจัยรวมกับทีมวิจัยบ้านเมืองแก ได้ทำการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนเพื่อหาแนวทาง และรูปแบบการอยู่ร่วมกันของเยาวชนและผู้สูงอายุในหมู่บ้าน  เนื่องจากบ้านเมืองแก ประสบปัญหาความเข้าใจกันระหว่างเยาวชนและผู้สูงอายุ เป็นเหตุทำให้เด็กวัยรุ่นออกไปก่อความเดือดร้อนรำคาญ ขณะที่ผู้สูงอายุ ก็ไม่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม ทำให้ชุมชนขาดประสิทธิภาพในการพัฒนาในหลาย ๆด้าน

Read More
KNOWLEGE การศึกษา

การสังคายนาองค์ความรู้การแพทย์พื้นบ้านล้านนา (หมอเมือง)

วิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้าน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ร่วมกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกลุ่มหมอพื้นบ้านล้านนา (หมอเมือง) ในจังหวัดภาคเหนือตอนบน ทำการสังคายนาองค์ความรู้หมอเมืองขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 แต่เพื่อที่จะพัฒนาองค์ความรู้หมอเมืองให้เป็นตำรากลางอ้างอิงของระบบการแพทย์พื้นบ้านล้านนา และเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายหมอเมือง 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน จึงได้พัฒนามาเป็นชุดโครงการวิจัยองค์ความรู้หมอเมืองตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถสรุปความก้าวหน้าได้ดังนี้

Read More
KNOWLEGE

NODE หัวใจสำคัญ “งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น”

กลไกสำคัญส่วนหนึ่งที่ช่วยในการทำงานบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นเกิดประสิทธิภาพสูงสุดคือ  คือ โหนด (NODE) หรือ “ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” ที่กระจายตัวอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศกว่า 50 จังหวัด ซึ่งในศูนย์ประสานงานจะมี ผู้ประสานงานและผู้ช่วยผู้ประสานงาน ทำหน้าที่ประสานงานระหว่าง สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นและโครงการวิจัยในพื้นที่ 

Read More
artical การจัดการน้ำ

“แอร์แว” การค้นพบที่เปลี่ยนชีวิตของคนบ้านผาชัน

แอร์แว หรือ ศัพท์แสงที่ชาวบ้านเรียกกันขำ ๆ ว่า “แอแวะ”  นั้น คือการปล่อยให้อากาศ “แวะ”  เข้าไปในท่อน้ำเพื่อช่วยเพิ่มแรงดัน ซึ่ง ครูกล พรมสำสี หัวหน้าโครงการวิจัย การศึกษารูปแบบการจัดการน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด : กรณีบ้านผาชัน ตำบลสำโรง  อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี  บอกว่าความบังเอิญอันเป็นจุดเริ่มต้นของการค้นพบนวัตกรรมดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่ชาวบ้านผาชันนามว่า นายชรินทร์ อินทร์ทอง เข้ามาร่วมในเวทีประชาคมหมู่บ้าน….ซึ่งประเด็นหารือในวันนั้นคือการช่วยมาหาคำตอบว่าจะทำอย่างไรที่จะสูบน้ำจากบุ่งพระละคอนขึ้นมาเติมถังประปาที่ รพช.มาสร้างไว้ให้ได้โดยที่เครื่องสูบน้ำไม่ต้องชำรุดเสียหาย เนื่องจากควาลาดชันของพื้นที่ทำให้เครื่องสูบน้ำเสียหายหลายครั้ง และชาวบ้านก็สูบเงินไปกับการซ่อมบำรุงหลายพันบาท

Read More