“บานหับ-เผย” เป็นแบบประตูระบายน้ำ ที่ชาวบ้านคิดค้นขึ้นเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งในการ ปิด-เปิด ประตูระบายน้ำ ระหว่างคนฝั่งน้ำจืด และฝั่งน้ำเค็มที่ยืดเยื้อยาวนานมาเกือบ 20 ปี ความขัดแย้งที่นับวันจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แม้กระทั่งญาติมิตรก็ไม่เว้น
Read Moreชุมชนแพรกหนามแดง มีปัญหาความขัดแย้งในการปิด-เปิด ประตูน้ำระหว่างชาวบ้านฝั่งน้ำจืด และน้ำเค็มยืดเยื้อยาวนานมากว่า 20 ปี สามารถคิดค้นแบบ “ประตูระบายน้ำ” ขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีกลไก ที่สอดคล้องกับระบบน้ำของชุมชน ความขัดแย้งจึงคลี่คลายลง ความสำเร็จครั้งนี้ทำให้ชาวบ้านเห็นประโยชน์ของการใช้ข้อมูล และมีความมั่นใจในภูมิรู้ ศักยภาพในการแก้ปัญหาของชุมชนด้วยตัวเอง โดยมีกิจกรรมร่วมคิด ร่วมทำกันอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน องค์ความรู้ ของชุมชนแพรกหนามแดง ถูกยกระดับให้เป็นกรณีศึกษา การจัดการน้ำในระบบนิเวศ 3 น้ำของประเทศ
Read Moreแอร์แว หรือ ศัพท์แสงที่ชาวบ้านเรียกกันขำ ๆ ว่า “แอแวะ” นั้น คือการปล่อยให้อากาศ “แวะ” เข้าไปในท่อน้ำเพื่อช่วยเพิ่มแรงดัน ซึ่ง ครูกล พรมสำสี หัวหน้าโครงการวิจัย การศึกษารูปแบบการจัดการน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด : กรณีบ้านผาชัน ตำบลสำโรง อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี บอกว่าความบังเอิญอันเป็นจุดเริ่มต้นของการค้นพบนวัตกรรมดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่ชาวบ้านผาชันนามว่า นายชรินทร์ อินทร์ทอง เข้ามาร่วมในเวทีประชาคมหมู่บ้าน….ซึ่งประเด็นหารือในวันนั้นคือการช่วยมาหาคำตอบว่าจะทำอย่างไรที่จะสูบน้ำจากบุ่งพระละคอนขึ้นมาเติมถังประปาที่ รพช.มาสร้างไว้ให้ได้โดยที่เครื่องสูบน้ำไม่ต้องชำรุดเสียหาย เนื่องจากควาลาดชันของพื้นที่ทำให้เครื่องสูบน้ำเสียหายหลายครั้ง และชาวบ้านก็สูบเงินไปกับการซ่อมบำรุงหลายพันบาท
Read Moreความเชื่อของพี่น้องอำเภอบ่อเกลือ ในเรื่องการต่อชะตามีหลายอย่าง และนิยมทำในหลายกรณี ชาวบ้านบางกลุ่มที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับแม่น้ำชาวบ้านก็นิยมจัดพิธีสืบชะตาให้กับแม่น้ำเพื่อต่ออายุ และความเป็นสิริมงคลจะได้เกิดขึ้นกับแม่น้ำรวมทั้งผู้คนในชุมชนไปด้วยการสืบชะตาให้กับแม่น้ำจึงเป็นการแสดงความศรัทธา ความเคารพ และเหนือสิ่งอื่นใดคือการร่วมกันแสดงออกถึงความห่วงใยต่อแม่น้ำ โดยพิธีสืบชะตาแม่น้ำนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นการต่อชีวิตให้กับแม่น้ำ และเป็นการขอขมาต่อแม่น้ำ สายน้ำที่มีความสำคัญต่อสรรพสิ่งทั้งมวลรวมถึงผู้คนทั้งสองฝั่งแม่น้ำและเป็นการกระตุ้นเตือนให้คนที่อาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำมีจิตสำนึกช่วยกันรักษาสายน้ำแห่งนี้ให้ยืนยาวอย่างยั่งยืน เพราะลำน้ำว้าและลำน้ามาง เปรียบเสมือนแม่คนที่ 2 ของคนบ่อเกลือ
Read Moreการมารวมตัวกันของ 4 องค์กรในพื้นที่ เกิดจากการทำงานอย่างเข็มข้นของศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่การวิเคราะห์บทบาทของส่วนงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดน้ำของจังหวัด ซึ่งก็พบว่า อบจ.มีงบประมาณ และมีนโยบายในเรื่องนี้ ขณะที่ทางศูนย์ประสานงานซึ่งทำหน้าที่ในนามของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ก็มีองค์ความรู้ และประสบการณ์ในด้านการทำงานชุมชน
Read More