โครงการวิจัย-2547

โครงการวิจัย-2547

ลดเหล้างานศพ จุดเริ่มต้นสู่การจัดระเบียบสังคม….

วันนี้ชุมชนบ้านดง ตำบลนายาง ประกาศตัวเป็นหมู่บ้านปลอดเหล้าในงานศพ 100 % สร้างความภาคภูมิใจให้กับคนในชุมชนที่สามารถเป็นต้นแบบของวิธีการและรูปแบบการเรียนรู้  มีอีกหลาย ๆ โครงการที่ต่อยอดวิธีการคิดจากงานจัดระเบียบสังคม ลดเหล้าในงานศพของหมู่บ้าน เช่นงานด้านสาธารณสุข   งานด้านการป้องกันอุบัติภัยจราจร    การจัดค่ายพุทธธรรมสำหรับเยาวชนเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมในระดับตำบล เป็นต้น ซึ่งถือว่าชุมชนสามารถใช้กระบวนการคิดและวิเคราะห์ปรับกระบวนท่าเพื่อตอบสนองความเป็นตัวตนที่แท้จริงด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธาว่า “ชาวบ้านสามารถจัดรูปแบบและแก้ไขปัญหาของชุมชนได้ด้วยวิธีการที่เหมาะสมและลงตัว” และความเปลี่ยนแปลงที่เห็นชัดเจนคือ ความสมัครสมานสามัคคี และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องราวของหมู่บ้านอย่างจริงจัง จากการลองผิดลองถูก เกิดปัญหาและร่วมกันแก้ไข และคิดสิ่งใหม่ ๆ มาทดแทน ทำให้เกิดความชำนาญทางความคิดและสามารถคิดเป็นระบบได้มากขึ้น 

Read More
โครงการวิจัย-2547

การใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการหนอนไม้ไผ่ (คิเบาะ) และกบ (เดะบือ)

บ้านแม่ยางส้าน ในอดีตมีป่าไผ่และป่าต้นน้ำที่อุดมสมบูรณ์  ต่อมาเมื่อคนในชุมชนเริ่มหันมาใช้ประโยชน์หากินจากป่ามากขึ้น มีการสนับสนุนจากภาครัฐให้ปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว  จึงทำให้ป่าที่เคยอุดมสมบูรณ์ถูกทำลาย การที่ป่าถูกทำลายอย่างรุนแรง ส่งผลให้หนอนไม้ไผ่ (คิเบาะ) และ กบ (เดะบือ) เริ่มหายไปจากพื้นที่  เพราะไม่มีที่อยู่อาศัย และส่วนหนึ่งได้ถูกชุมชนจับไปบริโภคมากขึ้น เนื่องจากชุมชนได้หันมาให้ความสำคัญต่อเศรษฐกิจในครอบครัว ไม่ค่อยมีความเชื่อเรื่องผีป่าดังในอดีตที่ผ่านมา  

Read More
artical โครงการวิจัย-2547

คืนโรงเรียนให้ชุมชน

หลักสูตรท้องถิ่นเชียงดาว แตกต่างจากหลักสูตรท้องถิ่นที่โรงเรียนอื่น ๆ จัดขึ้น เนื่องจากแนวคิดในการจัดทำหลักสูตรล้วนพัฒนามากจากการก่อตัวของชาวบ้านในพื้นที่ ที่ต้องการแก้ไขปัญหาของตัวเองโดยผ่านกระบวนการต่าง ๆ มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดเวทีระดมความคิด และระดมปัญหาที่เกิดขั้นภายในหมู่บ้านรวมถึงเกิดจากการรวบรวมข้อมูลสภาพของอำเภอเชียงดาวและปัญหาต่าง ๆ ในทุกด้านเพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อ—โดยเฉพาะเนื้อหาของหลักสูตรที่จำกำหนดให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ในอนาคต

Read More
artical โครงการวิจัย-2547

อนุรักษ์หอยขาวที่แหลมกลัด พลังร่วมของชาวบ้านและ อบต.

ตำบลแหลมกลัด อำเภอเมือง จังหวัดตราดเป็นพื้นที่ติดชายแดนไทย–กัมพูชา มีลักษณะเป็นแหลมยื่นออกมานอกทะเลฝั่งอ่าวไทยด้านทิศตะวันตกส่วนด้านทิศตะวันออกอยู่ติดกับเทือกเขาบรรทัดที่ทอดยาวไปจดสุดชายแดน สมบัติจากทะเลที่ขึ้นชื่อ ณ บ้านแห่งนี้ก็คงหนีไม่พ้น“หอยขาว” สัตว์น้ำเล็ก ๆ ที่ชาวบ้านนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ อาทิ หอยขาวทอดกรอบ หอยขาวอบสมุนไพรซึ่งปัจจุบัน ได้รับการยกย่องให้เป็นสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่สามารถสร้างชื่อเสียงและรายได้ให้กับคนในตำบลแห่งนี้ได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ

Read More
โครงการวิจัย-2547

ฟื้นภาษาชอง สะท้อนการดำรงอยู่ของคนชอง

“ภาษาชอง” ภาษาพื้นเมืองที่กำลังจะสูญหายไปจากเมืองจันทน์…แม้ชาวบ้านเชื้อชาติชองจะใช้ภาษาชองอันเป็นภาษาดั้งเดิมสื่อสารกันเองเป็นการภายในพื้นที่ ตำบลตะเคียนทอง ตำบลคลองพลู กิ่งอำเภอเขาคิชกูฎ จังหวัดจันทบุรี
แต่อย่างไรก็ตาม การให้ความสนใจด้านภาษาดั้งเดิมของ “คนนอก” ในทัศนะของชาวบ้านทำให้พวกเขาตื่นตัว…และคำถามก็เกิดขึ้นเงียบ ๆ ในใจของอดีตกำนัน ชื่อ เฉิน ผันผาย

Read More