artical

การวิจัยเพื่อท้องถิ่น ที่สอดอยู่ในการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก และการพัฒนาอย่างบูรณาการ ของ๘๐,๐๐๐ หมู่บ้าน๘,๐๐๐ ตำบล ๗๖ จังหวัด สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของประเทศไทย


ประเวศ วะสี

++++++++++

๑.
สกว.กับการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ๒๐ ปี

การที่ สกว. ได้ดำเนินโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นมา ๒๐ ปี ได้สร้างทุนทางความคิด ความรู้ คนที่มีความสามารถในการวิจัย และการจัดการไว้มากพอสมควร เป็นฐานที่จะทาให้คิดและดำเนินการเรื่องการวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นเรื่องใหญ่ต่อไปในเฟสที่ ๒ หรือ ๒๐ ปีข้างหน้า การที่จะทาให้การวิจัยท้องถิ่นเป็นเรื่องใหญ่ในเฟส ๒ ต้องการจินตนาการใหญ่ การปรับแนวคิด แนวทาง และการจัดการ

๒.
เศรษฐกิจฐานรากและการพัฒนาอย่างบูรณาการของชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศ
จะทาให้ฐานของประเทศแข็งแรง นาไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

ชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานของประเทศ ถ้าฐานของประเทศแข็งแรงจะรองรับประเทศทั้งหมดให้มั่นคง ที่แล้วมาเราพยายามพัฒนาแต่ข้างบน ประดุจสร้างพระเจดีย์จากยอด ซึ่งจะพังลงๆ ถ้าไม่มีฐานรองรับ แนวทางสร้างพระเจดีย์จากฐานหรือยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง จึงเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศ
โดยรูปธรรมคือสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นทั้ง ๘๐,๐๐๐ หมู่บ้าน ตาบลทั้ง ๘,๐๐๐ ตาบล และจังหวัดทั้ง ๗๖ จังหวัด มีสมรรถนะในการจัดการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้ง ๘ เรื่องเข้ามา สานอยู่ในกันและกัน คือ เศรษฐกิจ – จิตใจ – สังคม – สิ่งแวดล้อม – วัฒนธรรม – สุขภาพ – การศึกษา – ประชาธิปไตย การพัฒนาอย่างบูรณาการโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง จะนาไปสู่สังคมศานติสุข

ในกระบวนการพัฒนาอย่างบูรณาการ ต้องการพลังทางปัญญา ซึ่งประกอบด้วยปัญญาร่วม (Collective wisdom) นวัตกรรม อัจฉริยกลุ่ม และอิทธิปัญญา หรือปัญญาในการจัดการไปสู่ความสาเร็จ สกว. จะร่วมมือกับภาคีในการพัฒนา เพื่อเสริมสร้างพลังทางปัญญา เพื่อพัฒนาอย่างบูรณาการโดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้งทั่วทั้งประเทศ

๓.
ปรับแนวคิดแบบแยกส่วนสู่แนวคิดแบบบูรณาการ

การคิดและทำแบบแยกส่วนจะนำไปสู่สภาวะวิกฤตเสมอ เพราะสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยงเป็นองค์รวม การพัฒนาต่างๆ ในโลกล้วนทำแบบแยกส่วน เช่น เอาเศรษฐกิจเป็นตัวตั้งบ้าง เอาวิชาเป็นตัวตั้งบ้าง เอาหน่วยงาน เช่น กรม เป็นตัวตั้งบ้าง ตัวตั้งเหล่านี้ล้วนแยกส่วน การศึกษาที่เอาวิชาเป็นตัวตั้งแยกส่วนจากชีวิตและสังคม จึงอ่อนแอและกาลังวิกฤตอยู่เวลานี้ ประเทศไทยพัฒนาโดยเอากรมเป็นตัวตั้ง กรมนั้นแยกส่วนไปตามเรื่อง เช่น กรมที่ดิน กรมน้ำ กรมต้นไม้ ฯลฯ จึงพัฒนาอย่างบูรณาการไม่ได้ การพัฒนาอย่างบูรณาการต้องเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง ที่กล่าวข้างต้นในตอน ๑ และ ๒ และที่จะกล่าวต่อไป อยู่บนการปรับแนวคิดสู่การคิดอย่างบูรณาการ
โดยนัยยะนี้ แม้ สกว.จะมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนการวิจัย ก็ไม่ควรเอาการวิจัยเป็นตัวตั้ง เพราะจะเป็นการแยกส่วน คับแคบ ตีบตัน อยู่กับตัวเอง แต่ควรเอาการพัฒนาอย่างบูรณาการเป็นตัวตั้ง โดยการวิจัยบูรณาการอยู่ในกระบวนการพัฒนา

การพัฒนาอย่างบูรณาการอาศัย “การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ” (Interactive learning through action) ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องมือขับเคลื่อน การวิจัยเป็นฝ่ายหนึ่งที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ

โดยวิธีนี้ไม่ต้องเป็นห่วงว่าการวิจัยจะ “ขึ้นหิ้ง” โดยไม่มีการนาไปใช้ และไม่มี impactเพราะมีการใช้อยู่ในตัว และผลกระทบคือการพัฒนาอย่างบูรณาการซึ่งทาให้เกิดสังคมศานติสุข และการวิจัยจะไม่ทาอย่างโดดเดี่ยวแต่จะมีภาคีมากมายที่ร่วมกัน

๔.
เป้าหมายและโครงสร้างการทางานในพื้นที่

เป้าหมาย คือ ๘๐,๐๐๐ หมู่บ้าน ๘,๐๐๐ ตาบล ๗๖ จังหวัด

โครงสร้างการทางานในพื้นที่
ระดับชุมชนหรือหมู่บ้าน มีกระบวนการชุมชน ดังต่อไปนี้

(๑) ผู้นาตามธรรมชาติในชุมชน ซึ่งมีประมาณ ๔๐ – ๕๐ คน ก่อตัวขึ้นเป็นสภาผู้นาชุมชน ผู้นาชุมชนเหล่านี้ประกอบด้วย ผู้นากลุ่มอาชีพ ผู้นากองทุนชุมชน ผู้นาสตรี พระ ครู ศิลปิน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นาเหล่านี้มีคุณภาพสูงและนี่คือผู้วิจัยในชุมชน

(๒) สำรวจข้อมูลชุมชน โดยสภาผู้นาชุมชน นี่ถือเป็นการวิจัยแล้ว ขั้นตอนนี้สาคัญมากจะข้ามไปไม่ได้ การรู้ข้อมูลชุมชนทาให้เกิดความคิด

(๓) ทำแผนชุมชน จากข้อมูลชุมชนและความคิด นามาทาแผนชุมชน นี้เป็นกระบวนการทางปัญญาอย่างยิ่ง แผนชุมชนที่สภาผู้นาชุมชนทาโดยมากเป็นแผนการพัฒนาอย่างบูรณาการ แต่จะให้ความสาคัญแก่เรื่องใดก่อนหลังก็เป็นไปตามความต้องการของชุมชน

(๔) เสนอสภาประชาชน สภาประชาชนคือที่ประชุมของคนทั้งหมู่บ้าน อาจเรียกว่าสภาชุมชนก็ได้ ชุมชนมีประชากรไม่มาก ประมาณ ๕๐๐ – ๑,๐๐๐ คน จึงมีประชาธิปไตยทางตรงได้ คือคนทั้งชุมชนมีส่วนร่วมโดยตรง ไม่ต้องอาศัยการเลือกผู้แทน จึงไม่มีการซื้อเสียงขายเสียง และทะเลาะเบาะแว้งขัดแย้งกันเหมือนประชาธิปไตยระดับบน ประชาธิปไตยชุมชนจึงได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยสมานฉันท์บ้าง ประชาธิปไตยอัตถประโยชน์บ้าง สภาประชาชนพิจารณาแผนชุมชนที่สภาผู้นาชุมชนเสนอ จะตัดทอนเพิ่มเติมดัดแปลงอย่างไรก็สุดแต่จะเห็นร่วมกัน ในที่สุดสภาประชาชนมีมติรับรองแผนชุมชน

(๕) คนทั้งชุมชนขับเคลื่อนการพัฒนาตามแผนชุมชน เนื่องจากคนทั้งชุมชนมีส่วนร่วมในการทาแผนจึงเข้าใจและขับเคลื่อนได้ ต่างจากแผนที่ทางราชการทาและยัดเยียดลงไป เมื่อคนทั้งชุมชนขับเคลื่อนการพัฒนาตามแผนชุมชน ทุกอย่างก็ดีขึ้นเป็นลาดับ นั่นคือเกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการ ทั้ง ๘ องค์ประกอบ คือ เศรษฐกิจ – จิตใจ – สังคม – สิ่งแวดล้อม – วัฒนธรรม – สุขภาพ – การศึกษา – ประชาธิปไตย แต่ละองค์ประกอบชุมชนสามารถตั้งเป้าหมายได้ เช่น เศรษฐกิจจะสร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่ สังคม – จะเป็นสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน จะดูแลผู้สูงอายุ คนพิการ และเด็กเล็กทั้งหมด เป็นต้น

กระบวนการชุมชน ดังกล่าวข้างต้นเป็นกระบวนการที่ทรงพลังมาก เพราะเป็นทั้งกระบวนการทางสังคม กระบวนการทางปัญญา กระบวนการทางการจัดการ กระบวนการประชาธิปไตย
ถ้าเข้าใจฝ่ายต่างๆ สามารถเข้าร่วมได้อย่างไม่ยากและให้ผลดี เช่น สกว. เข้าไปส่งเสริมการวิจัยและการจัดการความรู้ ให้สามารถสร้างความรู้และดึงความรู้ทั้งจากภายในและภายนอกเข้ามาใช้ ซึ่งจะทาให้การพัฒนาได้ผลดียิ่งขึ้น

ภาคีในการพัฒนา มีองค์กรที่เข้าไปส่งเสริมการพัฒนาชุมชนมากหลาย องค์กรอิสระที่สาคัญคือ พอช. สสส. และธกส. พอช.นั้นมีหน้าที่พัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน มีสานักงานภาคอยู่ ๔ ภาค สสส.นั้นส่งเสริมความเข้มแข็งของตาบลอยู่กว่า ๒,๐๐๐ ตาบล และจะขยายตัวให้ครบทั้ง ๘,๐๐๐ ตาบลทั่วประเทศ ธกส.นั้นไปส่งเสริมให้เกิดสถาบันการเงินของชุมชนระดับตาบลให้ครบทุกตาบล ที่ทาสาเร็จแล้วตาบลหนึ่งๆ มีเงินหมุนเวียนถึง ๑๐๐ กว่าล้านบาท สถาบันการเงินของชุมชนระดับตาบล เป็นเครื่องมือเชิงสถาบันอันทรงพลังของชุมชนเพื่อการออม ส่งเสริมการเรียนรู้ ส่งเสริมอาชีพ ส่งเสริมสวัสดิการ และแน่นอนส่งเสริมการวิจัยในชุมชนได้ด้วย

ถ้าสกว.ทำงานเป็นภาคีร่วมกับพอช. สสส. และธกส. ในพื้นที่ก็จะไม่ลำบาก เพราะองค์กรเหล่านั้นดำเนินการพัฒนาอยู่แล้ว สกว.เข้าไปเสริมมิติการวิจัย ก็จะช่วยให้ทั้งหมดดีขึ้น

ระดับตาบล มีอบต.หรือเทศบาล ซึ่งเป็นองค์กรการปกครองท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพหลัก มีสสส.ทางานอยู่แล้วประมาณ ๒,๐๐๐ ตาบล มีตาบลศูนย์ฝึกหรือตาบลแม่ข่ายประมาณ ๘๐ ตาบล เพื่อให้ตาบลอื่นๆ เข้ามาเรียนรู้และขยายตัว จึงเป็นการง่ายที่สกว.จะเข้าไปหนุนการวิจัยโดยทางานร่วมกับสสส. ซึ่งในที่สุดก็จะขยายตัวไปครบทั้ง ๘,๐๐๐ ตาบล ทั่วประเทศ

ระดับจังหวัด ที่ระดับจังหวัดจะมีภาคีสนับสนุนการพัฒนาอย่างหลากหลาย ควรรวมตัวกันเป็นภาคีสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดอย่างบูรณาการโดยเอาชุมชนท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง อาจสร้างมูลนิธิเพื่อจังหวัด… (ชื่อจังหวัด) เป็นเครื่องมือ โดยเชิญคนเก่าคนแก่ของจังหวัดที่มีบารมีเป็นประธาน มูลนิธิเพื่อจังหวัดจะเป็นกลไกที่ไม่เป็นทางการในการรวมพลังของคนในจังหวัดมาร่วมมือกันพัฒนาจังหวัดของตน

สกว. ควรร่วมมือกับภาคีต่างๆ ในการพัฒนานโยบาย ๑ มหาวิทยาลัยต่อ ๑ จังหวัด โดยให้มีอย่างน้อย ๑ มหาวิทยาลัยที่ทางานกับพื้นที่ ๑ จังหวัด โดยใช้การวิจัยและวิชาการเข้าไปสร้างความเข้มแข็งให้กระบวนการชุมชนท้องถิ่น ถ้าสกว.สามารถไปหนุนเสริมให้มหาวิทยาลัย ๗๖ แห่ง ทาการวิจัยกับชุมชนท้องถิ่นได้ ก็จะสร้างคน สร้างการวิจัยเพื่อท้องถิ่น และการพัฒนาอย่างบูรณาการของทุกชุมชนท้องถิ่นและจังหวัดขึ้นมาเต็มประเทศ

๕.
ผลกระทบมหาศาลจากการพัฒนาอย่างบูรณาการเต็มพื้นที่

ผลกระทบจากการพัฒนาอย่างบูรณาการใน ๘๐,๐๐๐ หมู่บ้าน ๘,๐๐๐ ตาบล ๗๖ จังหวัด มีอย่างน้อยดังนี้
(๑) สร้างผู้นาจานวนมาก เฉพาะในระดับหมู่บ้าน สภาผู้นาชุมชน หมู่บ้านละ ๕๐ คน ๘๐,๐๐๐ หมู่บ้านทั่วประเทศ ก็เท่ากับ ๘๐,๐๐๐ x ๕๐ = ๔,๐๐๐,๐๐๐ คน ยังในระดับตาบล และระดับจังหวัดอีก ผู้นาจานวนมหาศาลเหล่านี้ผ่านการเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ ซึ่งรวมถึงการวิจัยและการจัดการความรู้ จะเป็นพลังขับเคลื่อนประเทศไทยในเรื่องต่างๆ รวมทั้งเป็นฐานใหญ่ที่ส่งผู้นาเก่งๆ ขึ้นมาทางานระดับชาติ
(๒) การที่มหาวิทยาลัย ๗๖ แห่ง ใช้วิชาการและการวิจัยไปส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นใน ๗๖ จังหวัด จะสร้างความแข็งแกร่งทางพลังปัญญาขึ้นมาเต็มประเทศ
(๓) เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการในทุกหมู่บ้าน ทุกตาบล และทุกจังหวัด ทาให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข หรือประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม
(๔) ชุมชนท้องถิ่นเป็นฐานของประเทศ เมื่อฐานของประเทศแข็งแรงก็จะรองรับประเทศทั้งหมดให้มั่นคง
(๕) ทั้งหมดนาไปสู่เป้าหมาย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
ฉะนั้นถ้า สกว.สามารถทางานส่งเสริมการวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยบูรณาการการวิจัยเข้าไปอยู่ในกระบวนการพัฒนาอย่างบูรณาการของชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศ จะมีผลใหญ่หลวงยิ่งนัก

๖.
วิธีทางานของสกว.

(๑) ใช้ทุนที่ทางานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นมา ๑๘ ปี ซึ่งมีทั้งนักวิจัย ผลการวิจัย กลไกส่งเสริมการวิจัย และประสบการณ์ มาทางานในเฟสที่ ๒ ปรับแนวคิดเป็นแนวคิดบูรณาการดังกล่าวข้างต้น
(๒) สกว.ควรทางานทั้งทางเทคนิค ทางประสานงาน และทางนโยบาย
(๓) ในทางเทคนิค สกว.มีศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นอยู่ในจังหวัดต่างๆ กว่า ๓๐ ศูนย์ ศูนย์เหล่านี้สามารถเข้าไปส่งเสริมการวิจัยในการพัฒนาอย่างบูรณาการของชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดที่ศูนย์ตั้งอยู่ และจังหวัดใกล้เคียงโดยตรง
(๔) สกว.สร้างความเป็นภาคีกับ พอช. สสส. และ ธกส. แล้วไปหนุนเสริมกระบวนการพัฒนาในพื้นที่ที่องค์กรเหล่านั้นทาอยู่ ด้วยมิติการวิจัย
(๕) สกว.เป็นภาคีกับมหาวิทยาลัย เพื่อช่วยให้มหาวิทยาลัยทั้งหมดทางานวิจัยกับชุมชนท้องถิ่นได้ในทุกจังหวัด
(๖) ในเชิงนโยบาย สกว.ควรจัดให้มีการวิจัยสารวจข้อมูลงานของชุมชนท้องถิ่นให้รู้หมด ว่าชุมชนท้องถิ่นใด เข้มแข็งเรื่องใด มากน้อยเพียงใด และมีองค์กรใดบ้างที่ทางานกับชุมชนท้องถิ่น ทาได้ดีมากน้อยเพียงใด ข้อมูลชุมชนท้องถิ่นนี้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ต่อไป
สกว.ควรร่วมกับสภาวิจัยแห่งชาติ และกระทรวงวิทยาศาสตร์ที่ทาให้การวิจัยเพื่อท้องถิ่นเป็นนโยบายของรัฐบาล หรือเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ และต้องผลักดันนโยบาย ๑ มหาวิทยาลัย ๑ จังหวัด ให้เป็นจริง
สกว.ควรส่งเสริมชุมชนท้องถิ่นและมหาวิทยาลัยให้สามารถสังเคราะห์และพัฒนานโยบายได้
(๗) สกว.ร่วมกับภาคีจัดให้มีการประชุมสมัชชาการวิจัยเพื่อท้องถิ่น ทั้งในระดับจังหวัดและระดับชาติ เพื่อเป็นเครื่องมือติดตามความก้าวหน้า เรียนรู้ร่วมกันและต่อยอด และพัฒนานโยบาย

+++++++++++