CBT.- การท่องเที่ยวโดยชุมชน

ท่องเที่ยววิถีชาวนา

เส้นทางสายข้าวเพื่อการท่องเที่ยววิถีชาวนา

โจทย์การท่องเที่ยววิถีชาวนาที่ให้เป็น Issue based  แต่จริง ๆ แล้วงานนี้เป็น Area based งานนี้ทำให้นึกถึงเส้นทางสายไหม ผมนึกถึงเส้นทางสายข้าว ไม่ใช่เฉพาะไทย แต่เป็นภูมิภาค การคิดถึงการขายเส้นทางสายข้าว เชื่อมโยงไทยและโลก นึกถึงการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่มีพื้นที่ข้าวทั่วประเทศ จากพื้นที่สูง ถึงพื้นที่ราบลุ่ม จนถึงทางใต้ เส้นทางสายข้าว อาจจะไม่ใช่ดูแต่ข้าว แต่อาจจะเป็นการเชื่อมโยงแต่ละจุดโดยมี Theme หลัก โดยอาจจะเชื่อมโยงกับ Wellness Tourism ที่ต้องเชื่อมโยงเรื่องอื่นๆด้วยที่มากกว่าข้าว ทีนี้จะไม่ใช่เอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง แต่เอา Corridors เป็นแนวคิด การคิดเรื่องนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องข้าวเพียงอย่างเดียว แต่ต้องคิดให้กว้างและเชื่อมโยงกับเรื่องอื่นๆ ด้วย

IMG_0365

การท่องเที่ยววิถีชาวนา และวัฒนธรรมข้าว อาจจะยังไม่เป็น marketing based คือ วิถีชุมชนที่อาจจะมีมากกว่าข้าว เพราะความเป็นชุมชนอาจจะมีทั้งชาวสวน ชาวไร่ ชาวประมง การท่องเที่ยววิถีชุมชนชาวนา ตรงนี้มันอาจจะรวมหมายความกว้างกว่าข้าว เป้าหมายคือการยกระดับชุมชนที่เป็นภาคการเกษตรให้ต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำอย่างไรคนจะไม่ขายที่ดิน รายได้ต้องสามารถทำให้คนในชุมชนอยู่ได้อยู่รอด และรวมถึงการเคลื่อนย้ายแรงงาน การรักษาที่ดินของคนในชุมชน จะทำอย่างไรให้เกษตรอยู่ได้ที่ไม่ได้มองแค่ภาคการเกษตร เราอาจจะต้องมองมากกว่านั้น ทั้งวิถีชุมชน อาหารการกิน ทิวทัศน์ ต้องหาคุณค่าที่เป็นวิถีของชนบท คุณค่าของผลผลิตทางการเกษตรที่ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและกลไกทางการตลาด พอมาโยงกับการท่องเที่ยว ต้องเป็น addition income เป็นเครื่องมือในการเสริมรายได้ของวิถีการเกษตร โดยต้องรักษาวิถีการเกษตรและรักษาที่ดิน แต่ท่องเที่ยวต้องทำให้เขาเห็นคุณค่าของวิถีเกษตรที่มีอยู่ ทันที่ที่เราจะมองเรื่องของชุมชน โดยเอาการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือไม่ได้เอาเป็นตัวตั้ง ชุมชนต้องอยู่ด้วยวิถีและมีโอกาสเอาวิถี การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งเท่านั้นที่จะได้สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ต้องตั้งเป้าหมายแบบนี้ งานวิจัยจะไปช่วยส่งเสริมและสนับสนุนชุมชนได้

งานวิจัยการท่องเที่ยววิถีชาวนาต้องทำให้เกิด Destination เกิดเป็น loop เป็น Corridors  เป็น Theme  คืออาจจะต้องไปชี้เป้าให้เขา ดึงศักยภาพและคุณค่าออกมา และการสร้างโอกาสทางการท่องเที่ยว จากที่เป็นเมืองหลัก และเชื่อมต่อกับเมืองรอง สร้างให้เกิดเส้นทางที่เป็น loop หรือ Corridors  ต้องสร้าง Theme ขึ้นมา เช่น ภูผาสู่มหานที เป็นต้น ไม่ใช่เอา Area based เป็นตัวตั้ง

การทำให้เกิดผลมันต้องมียุทธศาสตร์ อะไรควรเกิดก่อน อาจจะต้องมีเกณฑ์เพื่อการขยายผล อาจจะต้องมองในเชิงระบบว่าควรมีองค์ประกอบ แบบไหน อย่างไร ต้องเช็คสต๊อก ต้นทุนของท้องถิ่นให้ชัดเจน และมาดู Capacity ของชุมชนในการจัดการ ต้องให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองได้ในเบื้องต้น ชุมชนต้องมีโอกาสในการจัดการ มีอำนาจในการต่อรอง ต้องมี network  มีพันธมิตรทางธุรกิจนั้นมาถูกทางแล้ว แต่อยากให้มองไปข้างหน้าว่าต้องเป็น Issue based  ที่มากกว่า Area based เพื่อไปถึงสากลให้ได้ ต้องพูดถึงเส้นทางข้าว วัฒนธรรมข้าว

ในส่วนของมิติเศรษฐกิจฐานรากควรมองถึง ภาคการเกษตร อาชีพ การลดต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต และเชื่อมโยงเรื่องการท่องเที่ยว อาจต้องสร้าง Branch mark ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ต่อยอด ขีดความสามารถไปถึงการตลาดได้ ควรจะมี Branch mark ไปถึงตรงไหน อาจต้องมีเกณฑ์ หรือตัวชี้วัดในการวัด ว่าแต่ละที่ควรไปถึงไหน ตอนนี้ควรเติมเสริมอะไรตรงไหน ควรมีเกณฑ์หรือ Branch mark ในการวัด หรือ based line เพื่อให้การท่องเที่ยวชุมชนสามรถจัดการตนเองได้ อาจจะเริ่มจากการเอาผลผลิตทางการเกษตรออกไปขายได้อาจจะเอาตรงนี้เริ่มก่อน

แนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community based tourism: CBT) เป็นหลักการ ปรัชญา กระบวนการแต่วิถีข้าวเป็น theme แต่อาศัยหลักการ/กระบวนการ แต่หนีไม่พ้นกระบวนการจากฐานรากเป็นหลัก คือ เรื่องของชุมชน ปัญหาคือทำอย่างไรให้การเที่ยวไม่กระจุกตัว บริบทที่ไหน คืออยู่ชุมชน อย่ายึดหลัก theme เป็นหัวใจหลักแต่ควรมีกระบวนการยึดโยง การท่องเที่ยวจะต้องผูกพันหลายๆ มิติแต่จะต้องยึด theme หลัก ในเรื่องการท่องเที่ยววิถีชาวนา อาจจะไม่ได้มุ่งเป้าไปที่ชาวนาหรือข้าวเพียงอย่างเดียวแต่ควรมองชุมชนทั้งระบบที่เชื่อมโยงกับมิติความสัมพันธ์ด้านอื่นๆ ในชุมชนด้วย

เสนอให้มีการกำหนดตัวชี้วัดสุดท้ายที่อยากให้ไปถึงร่วมกัน โดยเป็นการกำหนดจากฐานราก การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นตัวชี้วัดแต่ขาดการมองเรื่องศักยภาพของพื้นที่/การรวมกลุ่มเป็นตัวชี้วัด หรืออาจจะนำเอามิติ 5 ด้านของการพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นกรอบในการกำหนดตัวชี้วัด อาทิ ด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และความยั่งยืน เป็นต้น ทั้งนี้จะต้องหา bench mark  ว่าแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไร ลองดูว่า best ที่ทำดีในแต่ละเรื่องเป็นอย่างไรบ้างเพื่อดูว่ามีคนทำแล้ว แต่บางตัวอาจจะต้องไปตกเกณฑ์จะต้องรับการพัฒนา ทำให้เมื่อใช้กระบวนการนี้วัดจะดูว่าเขาตกอยู่กลุ่มไหน และอยู่ระดับไหนเมื่อเทียบกับอันอื่นและเราจะยกระดับเขาอย่างไร อย่างน้อยปีหน้าจะจัดลงกล่องได้ดีขึ้น ซึ่งวิธีการนี้จะเป็นเช็คความพร้อมแบะศักยภาพของชุมชนท่องเที่ยวและสามารถนำไปวิเคราะห์ต่อเพื่ออกแบบระบบสนับสนุนและวางแผนการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวได้อย่างเป็นระบบ

ควรหาตัวชี้วัดที่ค่อนข้างแม่นยำ ซึ่งตัวชี้วัดกว่า 80% เป็นเชิงคุณภาพ เป็นการวัดจาก bench mark  แล้วค่อยๆ ดูว่าผลเป็นอย่างไร อะไรที่อยากเห็นอยากได้เป็นอย่างไร แต่ละอันตกอยู่ในกล่องไหน เป็นการแบ่งกลุ่มโดยใช้กระบวนการ เพื่อดูว่าสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องทำนั้นคืออะไร ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือสาธารณะสำหรับ stake holder จะต้องเฝ้าระวัง เป็นการกำกับให้มีการทำงานตามแผนที่กำหนดไว้

ในการมองมิติเครือข่าย หรือ Networking ให้แยกเป็น 2 ระดับคือ (1) เป็นเครือข่ายในกลุ่มที่เสมอกัน เพื่อให้มีอำนาจในการต่อรองกับกลุ่มอื่น หาบจับกลุ่มต่างระดับกัน อำนาจในการต่อรองไม่สมดุล เน้นการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สร้างอำนาจการต่อรองที่ดีขึ้น และ (2) Network alliance พันธมิตร สร้างศักยภาพในลักษณะ win-win ซึ่งเงื่อนไขสำคัญคือจะต้องมีเครือข่ายระดับหนึ่ง สิ่งสำคัญ จะต้องหาอำนาจในการต่อรองทางการเมืองที่มีนโยบายแบบเร่งด่วน แต่ชาวบ้านคิดเองและเข้มแข็งเองน้อยมาก

ป่านาทะเล1

ประเด็นเรื่องเศรษฐกิจฐานราก วางลำดับไว้ดีแต่จะต้องระวัง เช่น การเกษตร-ต่อยอดเกษตร-ต่อยอดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งจะต้องได้รับการดูแลเรื่องเกษตร ทำอย่างไรให้เขามีประสิทธิภาพในการผลิต ขายได้ในราคาที่เป็นธรรม แต่เมื่อรายได้การขายไม่ดีอาจจะสร้างมูลค่าเพิ่มจากการต่อยอดผลผลิต แต่เมื่อเป็นการท่องเที่ยว เป็นการเอาผู้ซื้อเข้ามาชุมชน หากจัดการไม่ดีจะก่อให้เกิดผลกระทบกับชุมชน สิ่งที่จะต้องพึงระวังคือ การเกษตร-การต่อยอดจะต้องพร้อม มีศักยภาพไม่เช่นนั้นจะมีปัญหา ซึ่งชุมชนมีขีดความสามารถในการจัดการทรัพยากรต้นทุนมากน้อยแค่ไหน หากสิ่งที่เขาชี้เป้าไปแล้วเอาการท่องเที่ยวเข้าไป ส่งผลกระทบต่อชุมชน (เศรษฐกิจโตกว่าพื้นฐาน อาจทำให้ที่ดินเปลี่ยนมือ และเมื่อการท่องเที่ยวเข้าไปทำให้ที่ดินมีมูลค่าสูงขึ้น) ประเด็นนี้เป็นข้อควรระวังในการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน

ในการสนับสนุนงานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชนนั้น เห็นว่ามีการทำพิพิธภัณฑ์ชาวนา ระบบที่อยู่ เป็นห้องเก็บของและจำแนก เก็บเป็นเรื่องๆ พิพิธภัณฑ์ หากมีชีวิตจะต้องเชื่อมโยงจากอดีต-ปัจจุบัน ไม่ใช่แค่มิติกายภาพอย่างเดียวแต่มีมิติเชิงสังคมวิทยา เช่น ทำไมชุมชนตั้งถิ่นฐาน มีองค์ประกอบชุมชน ทำไมอยู่ติดน้ำ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ฯลฯ ไม่ใช่มีคนเฝ้าและมีคนเล่า เช่น มีโรงสีจะต้องมีเครื่องมือ มีร้านค้าของชุมชนที่สะท้อนการค้าขาย ภูมิสังคม ฯลฯ เพื่อให้เห็นวิถีชุมชน

การท่องเที่ยวโดยชุมชน เรามองนามธรรม วิถีมากแต่ขาดการดูแลเชิงกายภาพที่ปรากฎอยู่ เช่น มีเรือนไหนที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำให้สืบทอด ฯลฯ สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นจะต้องเข้าใจว่ามีตำแหน่งที่ตั้ง ทำไมใต้ถุนสูง การใช้ function ของพื้นที่ ซึ่งจะต้องมีอาจารย์ที่มากกว่าการท่องเที่ยวเข้ามาช่วย คง “วิถีของแก่น” ไว้แต่ปรับวิวัฒน์ตามสิ่งที่มี ซี่งควรมีผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรม การวางผัง ฯลฯ เข้ามาช่วยมองในมิตินี้ด้วย ความรู้เรื่องสถาปัตย์ชุมชนจึงสำคัญต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชาวนาจากประสบการณ์เราจัดการท่องเที่ยวเพื่อให้เขาไปดู ณ ตอนนี้ยิ่งกว่าดู อะไรที่ดังๆ จะต้องทำ เป็นกิจกรรม การท่องเที่ยวจะต้องครบกระบวนการ ดู-รู้-ทำ-สนุก-ขายของ ต้องทำแบบ participation ดังนั้นการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ดีไม่ว่าจะเป็นวิถีอะไรในชุมชนควรเน้นและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในหลายมิติและหลายภาคส่วน ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อให้เกิดรูปธรรมของการท่องเที่ยวและชุมชนได้ประโยชน์อย่างแท้จริงสามารถตอบโจทย์ได้ทั้งด้านสังคม การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการจัดการชุมชนและการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนอย่างแท้จริง

++++++++++++