CBT.- การท่องเที่ยวโดยชุมชน โครงการวิจัย-2547

ตั้งเครือข่ายท่องเที่ยว เป็นศูนย์กลางพัฒนาชุมชน

พบข้อจำกัดด้านการตลาดท่องเที่ยวโดยชุมชน สกว.เตรียมวิจัยเก็บข้อมูล ตั้งเครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชน  หวังใช้เป็นศูนย์กลางการตลาด การจัดการ และการพัฒนาศักยภาพองค์กรท่องเที่ยวโดยชุมชน ทั้งระบบ และเป็นสะพานเชื่อมสู่องค์กรรัฐ

ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว ผู้ประสานงานสกว.สำนักงานภาคเห็นว่า น่าจะมีเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่บริหารจัดการโดยชุมชน  โดยให้ชุมชนท่องเที่ยวมาทำงานร่วมกัน อย่างน้อยเพื่อให้ชาวบ้านได้มีกลไกในการจัดการเชิงธุรกิจ  การตลาด รวมถึงพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านอื่น ๆ ที่เอื้อต่อการจัดการด้านการท่องเที่ยวของชุมชน

“และในขณะนี้ยังไม่มีเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ  นี่ก็เป็นโอกาสหนึ่งที่องค์กรชาวบ้านจะมาร่วมกันทำงาน โดยผ่านกระบวนการวิจัย   ซึ่งจะต้องมีเก็บข้อมูลความพร้อมของชุมชนที่จะเข้ามาร่วมในเครือข่ายในหลาย ๆ  ด้าน  ตรงนี้จะขึ้นอยู่กับข้อมูลที่จะทำการศึกษาในระยะต่อไป”

ด้านนายภราเดช  พยัฆวิเชียร  อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา 11 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า   เห็นด้วยที่ทาง สกว. มีดำริที่จะให้เกิดโครงการแบบนี้ขึ้น  แต่สิ่งที่จะต้องทำเพิ่มก็คือ หาแนวทางในการผลักดันโครงการวิจัยด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้ถึงระดับนโยบาย เพื่อให้หน่วยที่เกี่ยวข้อง ลงมาให้ความช่วยเหลือชาวบ้านให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  
“ต้องชี้ให้เห็นว่ารัฐต้องเขามาช่วยต่อยอด และช่วยกันสร้างความเข้มแข็งจากงานวิจัยที่เราทำกันขึ้นมา  …งานวิจัยเป็นเพียงการเริ่มต้น ช่วยให้ชาวบ้านพัฒนาขีดความสามารถในการจัดการ  แต่มันก็มีเรื่องนอกเหนือไปจากขอบเขตของงานวิจัยคือ  ชาวบ้านต้องการความรู้เรื่องการใช้เรื่องคอมพิวเตอร์   ความรู้เกี่ยวกับการทำเว็บไซต์  การทำบัญชี และด้านการตลาด ประเด็นเหล่านี้ต้องให้หน่วยงานหรือองค์กรอื่น ๆ เข้ามาช่วยเสริม” 

พร้อมกันนั้นนั้นอดีตผู้ว่า ททท.ยังยกตัวอย่างประเทศทางยุโรปซึ่งรัฐบาลได้ตั้งหน่วยงานซึ่งเป็นองค์กรกลางขึ้นมาพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชน ทั้งในเรื่องการตลาด การทำโปรโมชั่นผ่านเว็บไซต์  ให้การรับรองศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวของแต่ละชุมชนโดยหน่วยงานนั้น ๆ   

“ของเราก็น่าจะทำแบบนั้นได้  ทดลองทำคล้าย ๆ บริษัทจำลอง โดยเอาชุมชนเป้าหมายเข้ามาร่วมกัน…ร่วมกันวางแผนด้านการตลาด  กำหนดตัวชี้วัด กรณีควรหลีกเลี่ยงคำว่ามาตรฐาน เพราะคำว่ามาตรฐานค่อนข้างอันตราย ผมอยากเสนอให้มีการสร้างตัวชี้วัด  เช่นการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จของชุมชนใช้อะไรเป็นตัวชี้วัด  ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวเราใช้อะไรเป็นตัวชี้วัด  เช่นความสะอาด ความสะดวก หรือ ความสนุก และพอเราหาตัวชี้วัดได้ เราก็ใช้ตัวนี้คอยวัด และถ้ามันไม่ต่ำลงไปกว่าขีดที่เราวางไว้ก็ถือว่าผ่านเกณฑ์ แต่อย่าไปพูดคำว่ามาตรฐาน เพราะถ้าใช้คำนี้มันก็ต้องมีกรอบเยอะแยะมากมายเข้ามาจับ  อีกประการคือมาตรฐานมักจะถูกกำหนดด้วยปริมาณเสมอ…แต่ตัวชี่วัดมันไม่จำเป็นต้องออกมาในเชิงปริมาณ แต่อาจจะกำหนดด้วยคุณภาพก็ได้ เพียงแต่เราต้องกำหนดให้ชัดว่าจะทำตัวชี้วัดกี่เรื่อง” 

*******************