KNOWLEGE แหล่งเรียนรู้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น

ช่างชาวนา : แหล่งเรียนรู้การพัฒนานวัตกรรมระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

เครื่องจักรและเทคโนโลยีทางการเกษตรเป็นเครื่องมือทุ่นแรงสำคัญของเกษตรกร แต่เครื่องจักรและเทคโนโลยีสำเร็จรูปที่ผลิตจากบริษัทใหญ่ ไม่มีรูปแบบให้เกษตรกรเลือกใช้สอยมากนัก อีกทั้งยังมีราคาสูง ไม่ตอบโจทย์การทำเกษตรบนบริบทของพื้นที่ที่มีสภาพภูมิประเทศแตกต่างกัน  

อีกทั้งชาวนาที่ยังคงประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบันมีอายุมากขึ้นเรื่อย  ขณะที่คนรุ่นใหม่ไม่อยากกลับมาทำนา เพราะเหนื่อย ราคาข้าวผันผวน เมื่อผนวกกับเครื่องไม้เครื่องมือซึ่งเป็นเครื่องทุนแรงลดเวลามีราคาแพงและไม่ตอบโจทย์ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก หรือ ‘เครือข่ายช่างชาวนา’ จังหวัดยโสธรต้องการศึกษา หารูปแบบเพื่อพัฒนาเครื่องไม่เครื่องมือการเกษตร  เพื่อทุนแรง ลดระยะ และประหยัดเงินในการทำงาน

กระบวนการทำงาน

งานข้อมูล

1.สรรหาทีมวิจัยและทีมช่างฝีมือในชุมชน เพื่อเป็นแกนนำในการทำงาน รวมถึงช่วยค้นหาทีมช่างเข้าร่วมกลุ่ม
2.กำหนดเป้าหมาย จากปัญหาคือ เครื่องมือทางการเกษตรไม่ตอบโจทย์การใช้งาน กระบวนการวิจัยจึงกำหนดเป้าหมายไว้ที่ หลังจบโครงการ  “ชาวนาต้องมีทักษะเชิงช่าง”  และเกิด “เครือข่ายการทำงาน” เพื่อที่จะสามารถปรับเปลี่ยน ประยุกต์ใช้เครื่องทางการเกษตรที่มีอยู่ให้ตอบโจทย์การใช้งานจริงในพื้นที่ของตัวเองและเกิดกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานระหว่างกัน
3.เก็บข้อมูล  สมาชิก เป็นใคร มีนากี่ไร่ ทำนาปลูกข้าวอะไรบ้าง ใช้เครื่องจักรเครื่องกลอะไร และใช้ปัจจัยการผลิตอะไรบ้าง ข้อมูลที่เก็บจะใช้เป็นฐานในการออกแบบกิจกรรมการพัฒนาทักษะเชิงช่าง และใช้ในการเพิ่มอำนาจการต่อรองทางการตลาดกับนายทุนหรือผู้รับซื้อและเพิ่มโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก
4.ศึกษามูลเกี่ยวกับการพัฒนาและนวัตกรรมงานช่างทางอินเทอร์เน็ต

งานพัฒนาเครื่องมือที่เหมาะสมกับการทำงานในพื้นที่นา

  • เริ่มต้นที่การวิเคราะห์ว่าปัจจุบันชาวนามีเครื่องมืออะไรบ้าง ? แล้วควรต่อยอดพัฒนาอย่างไรต่อไป? หลังจากนั้นจึงลองประดิษฐ์จากเครื่องต้นแบบ ทดลองใช้จริง แล้วพัฒนาต่อหากเกิดข้อผิดพลาดหรือเห็นถึงการทำงานที่ยังไม่สมบูรณ์ กรณีโครงการช่างชาวนา พบว่า เครื่องมือที่มีปัญหามากที่สุด คือ เครื่องปลูกและหยอดข้าวและเครื่องกำจัดวัชพืช
  • สั่งซื้อเครื่องหยอดเพื่อนำมาเป็นต้นแบบ  วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งและความเหมาะสม ในการใช้งานในพื้นที่จริงของเครื่องต้นแบบ บนพื้นที่ของตัวเอง โดยมีการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ใช้และช่าง เพื่อหาจุดที่เหมาะสม และปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการ (กรณีนี้ เครื่องหยอดใช้งานยากกับสภาพดินในแปลงเกษตรกรของกลุ่ม – หยอดข้าวไม่ลง ปักต้นแล้วกล้าหัก ระบบหมุนใช้งานไม่ได้ เป็นต้น วิธีการแก้ไข เช่น ทำร่องให้ลึกขึ้น หรือ ทำอุปกรณ์หยอดให้มีรูใหญ่ขึ้นเพื่อให้โรยข้าวลงมาได้มากขึ้น เปลี่ยนมาใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบามากขึ้น เป็นต้น
  • ผลิตเครื่องออกจำหน่าย ในราคาไม่แพง และเข้าถึงง่าย
  • ตั้งศูนย์กลางกลุ่ม ทำงานครอบคลุมทั้ง 4 จังหวัดหลักและจังหวัดข้างเคียงเพื่อเป็นแหล่งประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงง่าย เป็นทั้งศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์รวบรวมนวัตกรรมละการสาธิตการใช้เครื่องมือ
  • จัดเวทีมหกรรมช่างชาวนา (แพลนไว้ในเดือนกุมภาพันธ์) เพื่อนำเครื่องไม้เครื่องมือที่ประดิษฐ์คิดค้นมาสาธิตภายในงาน

            หมายเหตุ : ปัจจุบัน เครื่องหยอดข้าวที่พัฒนาจากเครื่องต้นแบบ ทดลองใช้อยู่ในพื้นที่นาจังหวัดมหาสารคาม ส่วนเครื่องกำจัดวัชพืช อยู่ในระหว่างพัฒนาปรับปรุงแบบ

องค์ความรู้ที่ได้จากการทำงาน

  • วิธีการพัฒนาเครื่องมือที่ชาวนาในกลุ่มต้องการมากที่สุด  ซึ่งวิธีการดังกล่าวสามารถนำไปปรับใช้กับเครื่องมือทางเกษตรชนิดอื่น ๆ เช่น รถไถขนาดเล็ก เครื่องปักดำ
  • การประดิษฐ์เครื่องมือ ต้องคิดบนฐานของสภาพพื้นที่ และชนิดพืชที่ปลูก นอกจากข้าวแล้ว หลังทำนาเสร็จ เกษตรกรจะปลูกพืชหลังนา ได้แก่ มันสำปะหลัง มัน และถั่ว ซึ่งมีปัญหาเรื่องการไถพรวนดิน ในกรณีนี้ต้องคิดค้นเครื่องมือที่เหมาะกับพืชและปัญหาที่เจอ

ความน่าสนใจของแหล่งเรียนรู้

  1. กลไกการทำงาน ซึ่งดำเนินงานในลักษณะของ “เครือข่ายเกษตรกรทางเลือกยโสธร” เป็นกลุ่มเครือข่ายนาอินทรีย์ที่มีความเข้มแข็งและเหนียวแน่นอยู่แล้ว
  2. ความสามัคคีของกลุ่ม กลุ่มนี้เป็นกลุ่มชาวนาเกษตรอินทรีย์ มีสมาชิกกว่า 500
  3. ครอบครัว มีการแลกเปลี่ยน ปรึกษาหารือ เพื่อวางแนวทางการทำการเกษตรอย่างมีแบบแผน และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  4. การทำงานร่วมกันระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่ ที่เปิดกว้าง ยอมรับช่องว่างความต่างระหว่างวัย ทางกลุ่มหาวิธีสานสัมพันธ์ระหว่างชาวนา รุ่นเก่าที่เป็นผู้สูงวัยกับชาวนารุ่นใหม่ในวัยลูกหลาน สร้างความเข้าใจตรงกันถึงหัวใจของการทำงาน (การทำนา) บนฐานคติความเชื่อที่ว่าการทำนาคือชีวิต รักในอาชีพและหวงแหนมรดกแห่งวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพที่สืบทอดกันมา
  5. มีเป้าหมายการทำงานร่วมกัน สรรหาช่างที่มีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกันมาร่วมทีม พร้อมเดินไปด้วยกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เติมเต็มซึ่งกันและกันได้ แนวคิดที่ว่านี้สามารถรับรู้ได้จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนการทำงานยอมรับและรู้จักปัญหาของตัวเอง

นอกจากช่างที่มีทักษะฝีมือแล้ว ในพื้นที่ยังมีชาวนา/ เกษตรกรที่นอกจากทำนาแล้วยังทำงานช่างอื่นๆ เช่น ช่างซ่อม ช่างกลึง ฯลฯ ด้วย เป็นเกษตรกรในพื้นที่ที่มีความสามารถในการคิด ประยุกต์อุปกรณ์และเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ เพื่อทำการเกษตรได้ เพราะมีความคุ้นเคยอยู่กับการซ่อมแซมเครื่องจักรที่ให้บริการชุมชน เห็นว่าเครื่องมือแต่ละอย่างมีปัญหาอะไรบ้างและเห็นช่องทางในการพัฒนา

รูปแบบแหล่งเรียนรู้

เป็นศูนย์การเรียนรู้อบรมแนวคิดการทำเกษตร เผยแพร่และถ่ายทอดการเรียนรู้ด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นน้ำ คือการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การเตรียมดิน ทำปุ๋ย หว่าน การดูแลผลผลิต ที่โดเด่นคือ การคิดค้นเครื่องมือเพื่อช่วยทุ่นแรงและลดต้นทุน โดยในศูนย์ฯ มีหลักสูตรศูนย์ปราชญ์ แบ่งปันองค์ความรู้ด้านเกษตรยั่งยืน ทั้งวิธีคิดและเทคนิควิธีการ แบ่งฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับพันธุกรรมข้าว ความมั่นคงทางอาหาร การขยายพันธุ์พืช การดูแลดิน และองค์ความรู้ใหม่ด้านนวัตกรรม

สื่อการเรียนรู้

  • วิทยากร
  • หลักสูตร
  • ใช้เครื่องมือ/ เทคโนโลยีที่คิดค้นเป็นตัวอย่างสาธิตการทำงาน ทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติจริง

ติดต่อทีมงาน
พ่อทองหล่อ ขวัญทอง, จิระพงษ์ จันได เชี่ยวชาญเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์ งานซ่อม งานกลึงและงานเชื่อม หรือโทร 091-367-4908